ใบความรู้เรื่อง
การปฏิวัติวัฒนธรรมในสาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ. ๑๙๖๖-๑๙๗๖
การปฏิวัติวัฒนธรรม (Cultural Revolution) ในสาธารณรัฐประชาชนจีนนับเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญยิ่งเหตุการณ์หนึ่ง นับตั้งแต่พรรคคอมมิวนิสต์ได้รับชัยชนะปกครองสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยของประชาชน โดยมีเหมาเจ๋อตงเป็นผู้นำใน ค.ศ. ๑๙๔๙ ก่อนเกิดการปฏิวัติวัฒนธรรมใน ค.ศ. ๑๙๖๖ สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ใช้ระบอบการปกครองนี้มาเป็นเวลา ๑๗ ปี ตลอดระยะเวลาดังกล่าวปรากฏชัดว่าไม่สามารถแก้ปัญหาบางด้านที่เป็นผลจากระบอบการปกครองเดิมในสมัยรัฐบาลก๊กมินตั๋งให้หมดสิ้นไปได้ เช่น ระบอบข้าราชการอิทธิพล ระบอบนายทุน และยิ่งกว่านั้น ก็คือ การที่สาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพโซเวียตมีความขัดแย้งกันมากขึ้น เมื่อ สตาลินผู้นำของสหภาพโซเวียตถึงแก่กรรมใน ค.ศ. ๑๙๕๓ ความขัดแย้งนี้มีสาเหตุจากการที่เหมาเจ๋อตงไม่พอใจสหภาพโซเวียตที่มีนโยบายปฏิบัติออกนอกแนวทางอุดมการณ์การปกครองประเทศคอมมิวนิสต์ โดยใช้นโยบายใหม่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนโจมตีว่าเป็น ลัทธิแก้ (Revisionism) ซึ่งในทัศนะของสาธารณรัฐประชาชนจีนถือว่าเป็นการส่งเสริมระบอบทุนนิยม ทั้งนี้ เพราะสหภาพโซเวียตเน้นว่า วิธีการปฏิวัติโลกให้เป็นคอมมิวนิสต์นั้นไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการรุนแรงเพียงประการเดียวในการปฏิวัติสังคม
สำหรับเหมาเจ๋อตงมีความยึดมั่นว่า การปฏิวัติในประเทศต่างๆ นั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะรัฐบาลนายทุนที่ปกครองประเทศต่างๆ จะไม่ยอมสละอำนาจให้คอมมิวนิสต์โดยไม่คิดต่อสู้ สาธารณรัฐประชาชนจีนจึงสนับสนุนการปฏิวัติในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศที่เพิ่งได้รับเอกราชหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เช่น ด้วยการส่งอาวุธและส่งเงินไปใช้ขบวนการปฏิวัติในเอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกา เพื่อล้มล้างรัฐบาลซึ่งตนถือว่าเป็นตัวแทนของระบอบนายทุน
(ลัทธิแก้ เป็นถ้อยคำที่ฝ่ายเหมาเจ๋อตงและกลุ่มสี่คนใช้เรียกโจมตีฝ่ายที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจโดยการเปิดรับเทคโนโลยี และวิธีการของประเทศทุนนิยมตะวันตกมาใช้ กลุ่มของเหมาเจ๋อตงซึ่งเน้นทำการปฏิวัติตลอดกาล เพื่อให้บรรลุถึงสังคมคอมมิวนิสต์ในอุดมคติ ต่างพากันกล่าวหาพวกนี้ว่า เป็นลัทธิแก้หรือเป็นพวกฝ่ายขวาที่เดินตามแนวทางประเทศทุนนิยม เนื่องจากกลุ่มนี้เน้นปรับเอาหลักการบางอย่างของประเทศทุนนิยมมาใช้ เช่น การให้มีการค้าขายส่วนตัวบางประการ ให้มีเงินตอบแทนพิเศษหรือเงินโบนัส เป็นต้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้กลุ่มเหมาเจ๋อตงเกรงไปว่าจะนำไปสู่การฟื้นตัวของลัทธิทุนนิยมขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงทำการโจมตีต่อต้านอย่างขนานใหญ่ เช่น ทำการปฏิวัติวัฒนธรรม เป็นต้น นอกจากนั้น เหมาเจ๋อตงยังได้โจมตีกลุ่มนี้อีกว่า เป็นกลุ่มที่ต้องการให้สาธารณรัฐประชาชนจีนเน้นแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศ มากกว่าการเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนาม หรือเผชิญหน้ากับสหภาพโซเวียต ด้วยเหตุนี้จึงต้องการสันติภาพหรือการอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับประเทศทุนนิยม เช่นเดียวกับนโยบายของสหภาพโซเวียตในสมัยครุสซอฟ ที่ถูกเหมาเจ๋อตงโจมตีว่าถือตามลัทธิแก้)
ก. สาเหตุสำคัญของการปฏิวัติวัฒนธรรม มีทั้งสาเหตุภายในและภายนอก ดังนี้
๑. เนื่องจากเหมาเจ๋อตงมีความคิดขัดแย้งต่อนโยบายคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต โดยเห็นว่าผิดไปจากแนวทางของระบอบคอมมิวนิสต์ที่แท้จริง และที่สำคัญคือ นโยบายแบบสหภาพโซเวียตที่มีผลต่อสถานการณ์ทางการเมืองภายในสาธารณรัฐประชาชนจีน นั่นคือ
- เริ่มมีกลุ่มผู้บริหารระดับสูงบางกลุ่มมีแนวความคิดต้องการเปลี่ยนแปลงแก้ไขแนวทางอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์ กลุ่มผู้นำของสาธารณรัฐประชาชนจีนกลุ่มนี้มี ประธานาธิบดีหลิวซ่าวฉี (Liu Shao Ch’i) เป็นผู้นำ ร่วมด้วยเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ เติ้งเสี่ยวผิง (Teng Hsiao P’ing) บุคคลกลุ่มนี้ได้คัดค้านเหมาเจ๋อตงว่าเป็นผู้ที่ยึดมั่นในทฤษฎีและหลักการของตนมากเกินไป เหมาเจ๋อตงจึงไม่พอใจและถือว่ากลุ่มนี้มีแนวความคิดแบบสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นลัทธิแก้หรือเดินตามแนวทางทุนนิยม
- เกิดจากการขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมือง
- จากการที่บรรดาผู้มีความรู้หรือปัญญาชนจำนวนมากของสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งมีความตื่นตัวทางการเมือง ได้ร่วมกันจัดตั้งขบวนการที่ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ปัญญาชนได้แสดงความคิดเห็นโดยกว้างขวาง เช่น ขบวนการบัวบานบนแผ่นดินแดง และขบวนการดอำไม้ทั้งร้อยดอกบานสะพรั่ง โดยมุ่งให้ความสนใจต่อการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ทางด้านอุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์ในทางสากล
๒. เหมาเจ๋อตงเกิดความไม่แน่ใจในอนาคตการปฏิวัติของสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วยเกรงว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งชนะในสงครามกลางเมืองจะกลายเป็นฝ่ายแพ้ในการสร้างชาติ จึงผลักดันให้ประชาชนทำการปฏิวัติจิตสำนึกทางการเมือให้ตระหนักในความสำคัญของการปฏิวัติตลอดกาล เพื่อต่อต้านระบอบทุนนิยมที่เลวร้าย โดยยึดมั่นในหลักการและคำสอนของเหมาเจ๋อตงเป็นสำคัญ
๓. เนื่องจากเหมาเจ๋อตงถูกโจมตีในเรื่องความล้มเหลวของขบวนการก้าวกระโดดไกล จึงหันมาทำการปฏิวัติวัฒนธรรม เพื่อให้ประชาชนให้การสนับสนุนตนตามเดิมเพราะจากโครงการก้าวกระโดด
ข. จุดมุ่งหมายของการปฏิวัติวัฒนธรรม
แนวทางการดำเนินการแบ่งได้เป็น ๔ ด้าน คือ
๑. จะต้องยุติการต่อสู้และความขัดแย้งทางการเมืองในระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
๒. ป้องกันไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิด หรืออุดมการณ์ที่เดินตามแนวทางลัทธิแก้ของสหภาพโซเวียต
๓. ทำให้ปัญญาชนมีความเข้าใจในลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างถูกต้องและรวมพลังกันให้ปฏิบัติไปในแนวทางดังกล่าวร่วมกัน
๔. จะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนเห็นว่า การปฏิวัตินั้นเป็นแนวทางสำคัญที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ เพราะฉะนั้นประชาชนจะต้องมีจิตใจปฏิวัติที่เข้มข้นมีความจริงใจ และมีศรัทธาต่อพรรคคอมมิวนิสต์เป็นอันดับแรก
ค. การดำเนินการปฏิวัติวัฒนธรรม
การปฏิวัติวัฒนธรรมแบ่งออกได้เป็น ๒ ระยะ คือ ในระยะแรกระหว่าง ค.ศ. ๑๙๖๖ - ๑๙๖๗ และระยะที่ ๒ ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๖๗ - ๑๙๗๑ รวมระยะเวลาการปฏิวัติวัฒนธรรมได้ประมาณถึง ๖ ปี นับว่าเป็นการปฏิวัติที่ใช้เวลายาวนานทีเดียว การปฏิวัติวัฒนธรรมในระยะ ๒ ปีแรก (ค.ศ. ๑๙๖๖ - ๑๙๖๗) เป็นช่วงของการดำเนินการปฏิวัติอย่างรุนแรง โดยมีขบวนการเรดการ์ด (Red Guards) เป็นผู้ดำเนินการ มีทั้งการทำลายทรัพย์สินของรัฐและทำร้ายเยาวชนที่ประพฤติตัวแบบชนชั้นกลาง แม้แต่ชื่อถนนหนทางที่มีลักษณะเจ้าขุนมูลนายก็มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ บรรดาครูบาอาจารย์และข้าราชการระดับต่างๆ จะต้องอยู่ภายใต้คำวินิจฉัยของขบวนการเรดการ์ดว่า มีการกระทำอันใดไปในทางรับใช้ชนชั้นนายทุนและชนชั้นกลางหรือไม่ นับว่าในระหว่างนี้ทุกสิ่งทุกอย่างถูกเปลี่ยนแปลงไปหมด รวมทั้งการดำเนินชีวิตของประชาชน นอกจากนั้นยังมีการสร้างกฎเกณฑ์สำหรับระบบสังคมใหม่ โดยการปฏิรูปโครงสร้างและองค์ประกอบของสาขา พรรคทุกท้องถิ่นใหม่อีกด้วย ส่วนในระยะที่ ๒ (ค.ศ. ๑๙๖๗ -๑๙๗๑) เป็นการปฏิบัติงานต่อเนื่องกันเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะแรกเข้าสู่แนวทางของการปฏิวัติตามจุดมุ่งหมาย โดยการดำเนินการอยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มสี่คน (Gang of Four)
ขั้นตอนของการดำเนินงานมีดังนี้คือ
๑. การกวาดล้างผู้ที่มีความคิดต่อต้าน
๒. ควบคุมด้านการทหารให้อยู่ในอำนาจ ยกเลิกการใช้เครื่องแบบและเครื่องหมาย เป็นต้น เพื่อให้เกิดความเสมอภาค และเน้นการสอนให้ทุกกองทัพสนใจการศึกษาความคิดของเหมาเจ๋อตง เพื่อให้มีจิตใจที่ปฏิวัติ
๓. เหมาเจ๋อตงได้จัดตั้งขบวนการเรดการ์ดขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๖๖ ขบวนการนี้ประกอบด้วยนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและนิสิตนักศึกษา โดยมีอุดมการณ์เพื่อรักษาแนวทางของลัทธิคอมมิวนิสต์ให้คงอยู่ตลอดไป เหมาเจ๋อตงเน้นสั่งสอนให้คนเหล่านี้มีความคิดในการปฏิวัติอยู่ตลอดเวลา พร้อมทั้งให้การสนับสนุนพวกเยาวชนเรดการ์ดโจมตีกลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพรรคและอุดมการณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ ภายในเวลาเพียง ๑ ปี ขบวนการนี้มีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นถึง ๑๐ ล้านคน คณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงได้รับรองขบวนการนี้ให้เข้ามีส่วนร่วมรับผิดชอบทางการเมืองของประเทศ
๔. การจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อดำเนินการปฏิวัติวัฒนธรรม คณะกรรมการนี้มีทั้งหมด ๑๗ คน ผู้ที่มีบทบาทมากคือ เฉินป๋อต๋า (Ch’en Po Ta) รองลงมาคือ กลุ่มสี่คน ซึ่ง ๑ ใน ๔ คนนี้มีนางเจียงชิง (Chiang Ch’ing) ภรรยาของเหมาเจ๋อตงรวมอยู่ด้วย ในกลุ่มสี่คนนี้ จางชุนเฉียว (Chang Chun Chiao) มีตำแหน่งเป็นเลขาธิการแผนกโฆษณาของคณะกรรมการเซี่ยงไฮ้ใน ค.ศ. ๑๙๖๕ เจียงชิงเป็นรองประธานคนที่ ๓ ของสภาประชาชนแห่งชาติใน ค.ศ. ๑๙๖๔
เหยาเหวิน หยวน (Yao Wen Yuan) ทำงานเขียนเกี่ยวกับอุดมการณ์และวัฒนธรรมแต่ไม่มีตำแหน่งบริหารใดๆ
หวางหงเหวิน (Wang Hong Wen) เป็นผู้นำคนสำคัญในการชักชวนเรียกร้องให้กรรมการเข้ายึดโรงงาน การขึ้นมามีอำนาจของกลุ่มสี่คนนั้นเป็นผลจากการที่เหมาเจ๋อตงต้องการคนที่มีแนวความคิดสนับสนุนตนจริงๆ ทางด้านอุดมการณ์และวัฒนธรรมเพื่อเผยแพร่ความคิด
(ขบวนการเรดการ์ด เป็นขบวนการที่เริ่มมีขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีนใน ค.ศ. ๑๙๖๖ และสลายตัวไปใน ค.ศ. ๑๙๖๙ ขบวนการนี้ประกอบด้วย นักเรียนระดับมัธยมศึกษาและนิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ที่มีอุดมการณ์เพื่อรักษาแนวทางของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยได้ร่วมกันดำเนินการต่อต้านการฟื้นฟูของลัทธิทุนนิยม ด้วยการปฏิวัติวัฒนธรรม มาตรการที่ใช้ คือ การปลุกระดมให้มีการปฏิวัติทั่วประเทศ เพื่อมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยความคิดและวัฒนธรรมใหม่ ทำให้ขบวนการนี้มีฐานะเป็นองค์กรปฏิวัติ โดยมีสมาชิกจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเข้าร่วมด้วย ปรากฏว่าขบวนการนี้ได้แผ่ขยายจากโรงเรียนต่างๆ ไปยังสังคม และกระจายไปทั่วประเทศจนกลายเป็นพลังสำคัญในการปฏิวัติวัฒนธรรม การที่ขบวนการนี้ได้เข้ามีส่วนร่วมในการปฏิวัติวัฒนธรรมอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๙๖๖ ทำให้การปฏิวัติมีความรุนแรงขึ้นอย่างมาก)
ผลของการปฏิวัติวัฒนธรรม มีผลเกิดขึ้นแบ่งได้กว้างๆ เป็น ๒ ด้าน คือ
เหยาเหวิน หยวน (Yao Wen Yuan) ทำงานเขียนเกี่ยวกับอุดมการณ์และวัฒนธรรมแต่ไม่มีตำแหน่งบริหารใดๆ
หวางหงเหวิน (Wang Hong Wen) เป็นผู้นำคนสำคัญในการชักชวนเรียกร้องให้กรรมการเข้ายึดโรงงาน การขึ้นมามีอำนาจของกลุ่มสี่คนนั้นเป็นผลจากการที่เหมาเจ๋อตงต้องการคนที่มีแนวความคิดสนับสนุนตนจริงๆ ทางด้านอุดมการณ์และวัฒนธรรมเพื่อเผยแพร่ความคิด
(ขบวนการเรดการ์ด เป็นขบวนการที่เริ่มมีขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีนใน ค.ศ. ๑๙๖๖ และสลายตัวไปใน ค.ศ. ๑๙๖๙ ขบวนการนี้ประกอบด้วย นักเรียนระดับมัธยมศึกษาและนิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ที่มีอุดมการณ์เพื่อรักษาแนวทางของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยได้ร่วมกันดำเนินการต่อต้านการฟื้นฟูของลัทธิทุนนิยม ด้วยการปฏิวัติวัฒนธรรม มาตรการที่ใช้ คือ การปลุกระดมให้มีการปฏิวัติทั่วประเทศ เพื่อมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยความคิดและวัฒนธรรมใหม่ ทำให้ขบวนการนี้มีฐานะเป็นองค์กรปฏิวัติ โดยมีสมาชิกจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเข้าร่วมด้วย ปรากฏว่าขบวนการนี้ได้แผ่ขยายจากโรงเรียนต่างๆ ไปยังสังคม และกระจายไปทั่วประเทศจนกลายเป็นพลังสำคัญในการปฏิวัติวัฒนธรรม การที่ขบวนการนี้ได้เข้ามีส่วนร่วมในการปฏิวัติวัฒนธรรมอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๙๖๖ ทำให้การปฏิวัติมีความรุนแรงขึ้นอย่างมาก)
ผลของการปฏิวัติวัฒนธรรม มีผลเกิดขึ้นแบ่งได้กว้างๆ เป็น ๒ ด้าน คือ
๑. ผลต่อสถานการณ์ภายในประเทศ
๒. ผลต่อสถานการณ์ภายนอกประเทศ
๑. ผลต่อสถานการณ์ภายในประเทศ การปฏิวัติวัฒนธรรมที่มีจุดเริ่มต้นจากความขัดแย้งของกลุ่มผู้นำ ได้ก่อให้เกิดการโจมตีและกำจัดผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสำคัญๆ ตลอดจนการทำลายความสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางรวมอำนาจทางการเมืองของสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างกว้างขวาง ยิ่งกว่านั้น ยังได้ก่อให้เกิดขบวนการรวมตัวของประชาชนที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทุกด้านในประเทศ เพื่อให้สาธารณรัฐประชาชนจีนมีระบบสังคมใหม่ที่เป็นระบอบสังคมนิยมที่ถูกต้อง ซึ่งมีเหมาเจ๋อตงเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง
![]() |
พระราชวังต้องห้าม กู้กง |
....................................................................................................................................................................
คำถามท้ายบท เรื่อง การปฏิวัติวัฒนธรรม (Cultural Revolution) ในสาธารณรัฐประชาชนจีน
1. ลัทธิแก้ หมายถึง.........................................
1. ลัทธิแก้ หมายถึง.........................................
2.สาธารณรัฐประชาชนจีนจึงสนับสนุนการปฏิวัติในประเทศแถบใดบ้างโดยวิธีการใด
3.ปัญญาชนจำนวนมากของสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งมีความตื่นตัวทางการเมือง ได้ร่วมกันจัดตั้งขบวนการที่ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ปัญญาชนได้แสดงความคิดเห็นโดยกว้างขวางได้แก่ขบวนการใดบ้าง มีจุดมุ่งหมายอย่างไร
4. จุดมุ่งหมายในการปฏิวัติวัฒนธรรมได้แก่อะไรบ้าง
4. จุดมุ่งหมายในการปฏิวัติวัฒนธรรมได้แก่อะไรบ้าง
5. จีนใช้เวลาในการปฏิวัติวัฒนธรรม กี่ปี จากปี คศ.ใดถึงปี คศ.ใด
6.กลุ่มสี่คน ประกอบด้วยใครบ้าง แต่ละคนมีตำแหน่งใด ตั้งขึ้นมาด้วยจุดประสงค์ใด
7.ขบวนการเรดการ์ด หมายถึงคนกลุ่มใด มีวิธีการทำงานอย่างไร มีจุดมุ่งหมายใด
8.ผลของการปฏิวัติวัฒนธรรมของจีนภายในประเทศเป็นอย่างไรอธิบาย
9.ผลของการปฏิวัติวัฒนธรรมของจีนภายนอกประเทศเป็นอย่างไรอธิบาย