วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

ปัญหาและอนาคตด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของเกาหลีใต้

ข.  ปัญหาและอนาคตด้านการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคมของเกาหลีใต้
                ๑.  ปัญหาและอนาคตด้านการเมืองของเกาหลีใต้
                ปัญหาด้านการเมือง  เป็นปัญหาที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยปักจุงฮีที่ใช้อำนาจเผด็จการผูกขาด  ทำให้พรรคฝ่ายค้าน  ประชาชนและนิสิตนักศึกษา  ร่วมมือกันต่อต้านรัฐบาลอย่างแข็งขันตลอดมา  จนถึงขั้นมีการใช้อาวุธตอบโต้การปราบปรามของรัฐบาลหลายครั้ง  ขณะที่รัฐบาลใช้มาตรการทางการเมืองปราบปราม  ในลักษณะที่เป็นการละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน  และถึงขั้นจำคุกทรมานนักโทษการเมืองจนเป็นเรื่องอื้อฉาวไปทั่วมีผลทำให้รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพที่มั่นคง  ต้องเสริมสร้างอาวุธไว้คอยปกป้องคุ้มกันอยู่ตลอดเวลา  และไม่สามารถจะคาดการณ์ได้ว่าประชาชนจะก่อการประท้วงขึ้นอีกเมื่อไร  แม้ในสมัยชุนดูฮวานเองก็ตาม  หลังจากสามารถปราบปรามประชาชน  นิสิตนักศึกษา  ที่เมืองกวางจูได้อย่างราบคาบแล้ว  ปรากฏว่าเมื่อถึงวาระครบรอบ    ปีของเหตุการณ์จลาจลได้มีการประท้วงอดอาหาร  เพื่อให้รัฐบาลคลี่คลายกรณีทีเกิดขึ้นดังกล่าวให้กระจ่างแจ้งซึ่งรัฐบาลก็ต้องยอมผ่อนปรนที่จะปฏิบัติตามในที่สุด  ปัญหาการต่อต้านรัฐบาลคงยากที่จะแก้ไขให้ยุติไปได้  ตราบเท่าที่ยังไม่มีการใช้หลักเกณฑ์ที่เคารพต่อสิทธิเสรีภาพ  และสร้างสรรค์ความเสมอภาคเป็นธรรมในเกาหลีใต้อย่างแท้จริง
                ๒.  ปัญหาและอนาคตด้านการต่างประเทศของเกาหลีใต้
                ปัญหาที่สร้างความกังวลใจต่อรัฐบาลเกาหลีใต้  ตลอดทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมามากที่สุด  คือ  ปัญหาการป้องกันประเทศ  เพราะเกรงว่าฝ่ายเกาหลีเหนือจะรุกรานเพื่อผนวกเกาหลีใต้  โดยเฉพาะนโยบายต่างประเทศสมัยประธานาธิบดีคาร์เตอร์ของสหรัฐอเมริกาที่ต้องการลดความผูกพันกับภูมิภาคเอเชีย  ในที่สุดได้ตัดสินใจจะถอนกำลังภาคพื้นดินในเกาหลีใต้ประมาณ  ๓๓,๐๐๐  คน  ออกให้หมดภายใน  ค.ศ. ๑๙๘๒  โดยจะยังคงหน่วยทหารด้านการช่างบางหน่วยเท่าที่จำเป็น  รวมทั้งให้คงหน่วยสังเกตการณ์กองกำลังทางเรือและอากาศเท่าที่จำเป็นอยู่ต่อไป  และสัญญาว่าสหรัฐอเมริกาจะให้อาวุธสมัยใหม่ทดแทนมีมูลค่ากว่า  ๒,๐๐๐  ล้านดอลลาร์  สำหรับเหตุการณ์ของรัฐบาลคาร์เตอร์ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นการกดดันแนวนโยบายของรัฐบาลเกาหลีใต้ที่ปราบปรามประชาชนด้วย
                อย่างไรก็ดี  สหรัฐอเมริกาได้พยายามชักจูงให้ญี่ปุ่นซึ่งเคยมีอำนาจเหนือเกาหลีในอดีต  เข้าร่วมมีบทบาททางการเมืองและเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมากยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่สหรัฐอเมริกามีสัมพันธภาพทางการทูตขั้นปกติกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเช่นเดียวกับญี่ปุ่น  ยิ่งทำให้ความร่วมมือในลักษณะดังกล่าวเป็นปึกแผ่นกว้างขวางยิ่งขึ้น  ดังเช่นการที่ได้มีประกาศในแถลงการณ์ร่วมระหว่างสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายน  ค.ศ. ๑๙๗๐  ว่า  ความมั่นคงในคาบสมุทรเกาหลีและบริเวณเกาะไต้หวันเป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นมีความห่วงใยมาก  รวมทั้งการที่ญี่ปุ่นมีสัมพันธภาพทางการทูตและการค้ากับเกาหลีใต้อย่างแน่นแฟ้น  นอกจากมีการติดต่อค้าขายกันอย่างกว้างขวางแล้วญี่ปุ่นยังมีส่วนช่วยเหลือทางเศรษฐกิจที่สำคัญๆ  แก่เกาหลีใต้อีกด้วย  เช่น  การสร้างโรงงานถลุงเหล็กขนาดใหญ่  เป็นต้น  เป้าหมายสำคัญก็เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของสหภาพโซเวียตในภูมิภาคนี้เป็นสำคัญ  เป็นไปได้ว่าในอนาคตสาธารณรัฐประชาชนจึงซึ่งมีอิทธิพลต่อเกาหลีเหนือ  อาจจะมีส่วนผลักดันร่วมกับสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นซึ่งมีอิทธิพลต่อเกาหลีใต้  ให้โน้มนำไปสู่การเจรจาตกลงปัญหาการรวมชาติเกาหลีในอนาคต  แต่แนวโน้มดังกล่าวดูจะไม่แจ่มใสนักเมื่อนายโรแนล  เรแกน  ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี  เนื่องจากมีนโยบายอนุรักษ์นิยมและต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างมาก  อันจะเป็นผลให้สหรัฐอเมริกายังคงสนับสนุนการปกครองโดยรัฐบาลของเกาหลีใต้ต่อไป  เพื่อป้องกันภัยจากเกาหลีเหนือ  รวมทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพโซเวียต
                ๓.  ปัญหาและอนาคตด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกาหลีใต้
                        ๓.๑  ปัญหาและอนาคตด้านเศรษฐกิจของเกาหลีใต้
                        แม้เกาหลีใต้จะประสบความสำเร็จด้านความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลกก็ตาม  กระนั้น  ก็ยังคงประสบปัญหาเศรษฐกิจเช่นเดียวกับประเทศต่างๆ  ทั่วโลกด้วย  ที่สำคัญคือ  การที่รัฐบาลเกาหลีใต้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรมมากเป็นพิเศษ  ทำให้เกิดผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรในชนบท  ที่มีช่องว่างทางรายได้ห่างไกลกันมาก  เกิดปัญหาด้านการกระจายรายได้และความเป็นธรรมในสังคม  แม้โดยส่วนรวมแล้วประชาชนเกาหลีใต้จะมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวเพิ่มสูงขึ้นมากก็ตาม  แต่ส่วนใหญ่ได้รับรายได้เฉลี่ยต่ำกว่านายทุนอุตสาหกรรมอย่างมากมาย  แม้รัฐบาลจะมีนโยบายพัฒนาชนบทตามโครงการซามาเอิล  อุนดอง  ก็ยังไม่อาจแก้ปัญหานี้ให้หมดไปได้โดยเร็ว
                        อย่างไรก็ดี  แม้กรรมกรผู้ใช้แรงงานในเมืองจะได้รับค่าจ้างแรงงานต่ำ  ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อขยายตัวมากขึ้น  รัฐบาลก็กลับพยายามกดราคาค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเอาไว้เพื่อหวังเป็นเครื่องชักจูงชาวต่างชาติให้เข้าไปลงทุน  หากกรรมกรเกิดการรวมตัวประท้วงขนานใหญ่เพราะทนต่อสภาวะเงินเฟ้อไม่ไหว  อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ได้  นอกจากนั้น  ผลของการที่สินค้าออกของเกาหลีใต้มีราคาถูก  ทำให้ประเทศต่างๆ  ทั้งสหรัฐอเมริกา  ประเทศยุโรปตะวันตกได้ตั้งมาตรการเพื่อสกัดกั้นสินค้าของเกาหลีใต้  เกิดผลกระทบต่อการขยายการผลิต  และการส่งออกของเกาหลีใต้มากทีเดียว
                        มีข้อสังเกตว่า  สภาวะความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้  ในความเป็นจริงเป็นผลมาจากการกู้เงินจากต่างชาติเพื่อเพิ่มขยายการลงทุนเป็นส่วนใหญ่  หนี้ต่างประเทศของเกาหลีใต้ในปัจจุบันจึงสูงถึงประมาณ  ๑๐,๐๐๐  ล้านดอลลาร์  เมื่อไม่สามารถเพิ่มขยายการส่งออกเพื่อแสวงหาเงินตราต่างประเทศมาชดใช้เงินกู้เพื่อผดุงฐานะทางเศรษฐกิจปัญหายุ่งยากต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน  นอกจากการผลิตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกกำลังถึงจุดอิ่มตัวแล้ว  ต้นทุนการผลิตด้านแรงงานและพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันก็มีมูลค่าสูงขึ้น  รวมทั้งปัญหาภาวะเงินเฟ้อและเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก  ปรากฏว่าใน  ค.ศ. ๑๙๗๙  เกาหลีใต้ขาดดุลถึง  ๓,๐๐๐  ล้านดอลลาร์  และการที่เกาหลีใต้ต้องพึ่งพลังงานโดยสั่งน้ำมันเป็นสินค้าเข้าจากต่างประเทศถึงประมาณร้อยละ  ๗๐  ของสินค้าเข้าทั้งหมด  เนื่องจากเป็นประเทศอุตสาหกรรม  ขณะที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นมากเป็นผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ  ๓๐
                        สิ่งที่รัฐบาลชุนดูฮวานพยายามแก้ไข  คือ  ต้องพยายามหาทางขยายการลงทุนไปยังประเทศอื่นที่มีแรงงานราคาถูกและเป็นแหล่งวัตถุดิบและตลาดสินค้า  ชุนดูฮวานได้เพ่งเล็งมาที่กลุ่มประเทศสมาคมอาเซียนบางประเทศ  ที่มีความสามารถทางการผลิตอุตสาหกรรมต่ำกว่า  จึงได้ตัดสินใจเดินทางมาเยือนกลุ่มประเทศอาเซียนเมื่อเดือนมิถุนายน  ค.ศ. ๑๙๘๑  ชุนดูฮวานคงตระหนักดีถึงความสำคัญของอาณาบริเวณแถบนี้  เนื่องจากเกาหลีใต้มีการค้าด้วยประมาณร้อยละ    ของการค้าต่างประเทศของตนทั้งหมด  นอกจากนั้น  ประเทศในกลุ่มอาเซียนยังเป็นทั้งตลาดและแหล่งวัตถุดิบทางอุตสาหกรรมที่สำคัญของเกาหลีใต้  ซึ่งต้องอาศัยดีบุก  ยางพารา  ไม้สักถึงร้อยละ  ๘๐  และน้ำมันจากอินโดนีเซียถึง  ๑๕,๐๐๐  บาเรลต่อวันอีกด้วย
                        ปัจจัยต่างๆ  ดังกล่าวอาจจะเป็นผลผลักดันให้รัฐบาลเกาหลีใต้ต้องหันไปเร่งรัดพัฒนาการเกษตรในชนบทเพิ่มมากขึ้น  เพื่อแก้ไขภาวการณ์ขาดแคลนอาหารบริโภคภายในประเทศ  และเน้นการกระจายรายได้และความเป็นธรรมภายในประเทศให้ดีขึ้น  ขณะที่จำเป็นต้องลดการขยายการเจริญเติบโตภาคอุตสาหกรรมลงควบคู่ไปกับการหาทางขยายตลาดสินค้าอุตสาหกรรมใหม่ๆ  มากขึ้น
                        ๓.๒  ปัญหาและอนาคตด้านสังคมของเกาหลีใต้
                        เนื่องจากเกาหลีใต้เน้นพัฒนาประเทศ  ให้เป็นประเทศพัฒนาทางอุตสาหกรรมทำให้เกิดเขตอุตสาหกรรมบริเวณชานเมืองขึ้นอย่างมากมาย  ทำให้ประสบปัญหาทางสังคมคล้ายกับปัญหาของนครหรือเมืองใหญ่ในประเทศอื่นๆ  ทั่วไป  คือ  การที่คนชนบทอพยพละทิ้งอาชีพทางการเกษตรซึ่งประสบความล้มเหลวในการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่  เข้าสู่ตัวเมืองเพื่อประกอบอาชีพเป็นกรรมกร  ปัญหาประชากรหนาแน่นในเมืองของเกาหลีใต้ดังกล่าวนับได้ว่าอยู่ในระดับรุนแรง  โดยเฉพาะในช่วงที่ยังไม่มีการพัฒนาฟื้นฟูอาชีพการเกษตรในชนบทตามโครงการซามาเอิล  อุนดอง  เป็นผลให้เกิดปัญหาอื่นๆ  ติดตามมาเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาคนว่างงาน  ปัญหาอาชญากรรม  ปัญหาขาดแคลนสิ่งสาธารณูปโภคและสวัสดิการสังคมต่างๆ  และปัญหาการจราจรติดขัด  เป็นต้น  มีผลกระทบต่อเสถียรภาพและความสงบของประชาชนอย่างมาก
                        อย่างไรก็ดี  แม้ว่าต่อมารัฐบาลเกาหลีใต้จะได้เร่งรัดพัฒนาเพื่อฟื้นฟูเกษตรกรรมในชนบทแล้วก็ตาม  ก็ยังไม่สามารถขจัดปัญหาความยากจนของบรรดาผู้ใช้แรงงานทั้งกรรมกรในเมืองและชาวนาชาวไร่ในชนบทให้หมดไปได้
ปัญหาการรวมเกาหลี
                การแบ่งแยกชั่วคราวระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้    เส้นขนานที่  ๓๘  ตั้งแต่วันที่  ๒๗  กรกฎาคม  ค.ศ. ๑๙๕๓  เป็นต้นมาจนบัดนี้  ประมาณ  ๓๐  ปีแล้ว  ก็ยังไม่สามารถรวมเกาหลีให้กลับเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้แม้ว่าทั้ง    ฝ่ายจะมีความเห็นตรงกันว่าต้องรวมกันก็ตาม  ด้วยต่างฝ่ายต่างก็ไม่ไว้วางใจกัน  ฝ่ายเกาหลีใต้โจมตีว่าผู้นำเกาหลีเหนือยังไม่เลิกล้มแผนการที่จะยกทัพบุกเกาหลีใต้  และรวมประเทศด้วยกำลังให้เป็นคอมมิวนิสต์  ฝ่ายเกาหลีเหนือก็โจมตีว่าสหรัฐอเมริกาเป็นต้นเหตุสำคัญที่เข้าไปยึดครองเกาหลีใต้เพื่อหวังผลอิทธิพลเข้าครองเอเชีย  ตลอดระยะเวลาเกือบ  ๓๐  ปี  ได้มีการเสนอเงื่อนไขการรวมประเทศกว่า  ๑๐๐  ครั้ง  แต่ก็ยังไม่เป็นที่ตกลงกัน  ข้อเสนอที่สำคัญเช่น  ในวันที่  ๒๓  มิถุนายน  ค.ศ. ๑๙๖๓  คิมอิลซุงแห่งเกาหลีเหนือได้เสนอหลักการในการรวมประเทศ  โดยเสนอให้ตั้งสมาพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยโคเรียว  (Republic of Koryo)  เป็นตัวแทนของเกาหลีทั้งสอง  ให้มีผู้แทนจากทั้ง    ฝ่ายจำนวนเท่ากันเป็นผู้บริหารสมาพันธ์เพื่อร่วมมือกันทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจในการรวมประเทศ  รวมทั้งสมัครเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติในนามสมาพันธ์  ทั้งนี้โดยไม่ให้ต่างชาติเข้าเกี่ยวข้อง  แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ  ข้อเสนอฝ่ายเกาหลีเหนือมีเงื่อนไขสำคัญ   ขั้นตอน  คือ  ขั้นแรกให้ถอนทหารอเมริกันออกไปจากเกาหลีใต้  ต่อมาให้ตกลงทำสนธิสัญญาสันติภาพ  และขั้นสุดท้ายให้ลดกำลังรบระหว่างประเทศทั้งสองให้กำลังต่ำกว่า  ๑๐๐,๐๐๐  คน  แต่ประธานาธิบดีปักจุงฮีปฏิเสธ  และโจมตีว่าเกาหลีเหนือประสงค์ที่จะรวมชาติโดยใช้กำลังและไม่มีความจริงใจ
                อย่างไรก็ดี  ต่อมารัฐบาลเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้ตกลงเปิดให้มีการเจรจากันเพื่อลดความตึงเครียดที่เมืองปันมุนจอม  ระหว่างวันที่  ๑๗  กันยายน -  มิถุนายน  ค.ศ. ๑๙๗๙  ในรูปคณะกรรมการเหนือ - ใต้  (South - North Coordinating Committee)  ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นระหว่างการเจรจากับเกาหลีใต้ใน  ค.ศ. ๑๙๗๒ - ๑๙๗๓  แต่ฝ่ายเกาหลีเหนืออ้างว่าคณะกรรมการชุดดังกล่าวหมดสภาพไปตั้งแต่    ปีก่อนแล้ว  แต่ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมในฐานะผู้แทนแนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อการรวมปิตุภูมิ  (Democratic Front For the Unifications of the Father Land)  ผู้แทนเกาหลีเหนือเรียกร้องให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเตรียมการรวมเกาหลีเพื่อดำเนินการสำหรับจัดตั้งสมัชชาแห่งชาติ  และเสนอให้คณะเจ้าหน้าที่ติดต่อของทั้ง    ฝ่ายพบกันทุกสัปดาห์เพื่อหารือกัน  ฝ่ายเกาหลีใต้โจมตีฝ่ายเกาหลีเหนือว่าไม่จริงใจต่อการเจรจา  โดยส่งผู้แทนแนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อการรวมปิตุภูมิเข้าร่วมเจรจา  มิใช่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโดยตรง  จึงยุติการเจรจา  แต่ได้ตกลงกันในหลักการ  ให้รื้อฟื้นการติดต่อทางโทรศัพท์สายด่วนระหว่างกรุงโซลและกรุงเปียงยางขึ้นใหม่
                ในการเจรจาระหว่างวันที่  ๗ - ๑๔  มีนาคม  ค.ศ. ๑๙๗๙  เกาหลีใต้ได้เสนอให้เปิดเจรจาระดับคณะทำงานขึ้นในวันที่  ๒๘  มีนาคม  ค.ศ. ๑๙๗๙  เพื่อพิจารณาถึงสถานะของคณะกรรมการประสานงานเหนือ - ใต้  แต่ผู้แทนเกาหลีเหนือได้ยื่นข้อเสนอว่าหากเกาหลีใต้ยินยอมยกเลิกปัญหาเรื่องคณะกรรมการดังกล่าว  ฝ่ายเกาหลีเหนือยินดีจะให้คณะผู้แทนของตนเปลี่ยนสภาพเป็นตัวแทนของรัฐบาล  และพรรคกรรกรเกาหลีเหนือ  เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเรียกร้องในตอนแรกของเกาหลีใต้  พร้อมกับเสนอให้เปิดการเจรจาดังกล่าวขึ้นในวันที่    เมษายน  ค.ศ. ๑๙๗๙  แต่ฝ่ายเกาหลีใต้ปฏิเสธ  อย่างไรก็ดี  ต่อมาในเดือนมิถุนายน  ค.ศ. ๑๙๘๑  ชุนดูฮวานได้เสนอให้เปิดประชุมสุดยอดกับคิมอิลซุงแห่งเกาหลีเหนือโดยตรงขึ้นเพื่อหาทางร่วมกันโดยสันติวิธี  โดยยอมให้ฝ่ายเกาหลีเหนือเป็นผู้กำหนดเวลาและสถานที่  หลังจากที่คิมอิลซุงปฏิเสธคำเชิญของซุนดูฮวานให้ไปเยือนกรุงโซล  แต่ก็ยังไม่เป็นที่ตกลงกัน  ปัญหาการรวมเกาหลีจึงยังคงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการหาทางเจรจาปรองดองกันด้วยความจริงใจอีกมาก  จึงจะบรรลุถึงความเป็นเอกภาพของประเทศชาติและประชาชนเกาหลีอย่างแท้จริง

3 ความคิดเห็น: