วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้หลังสงครามกลางเมืองถึงปัจจุบัน


การเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคมของเกาหลีเหนือ
และเกาหลีใต้หลังสงครามกลางเมืองถึงปัจจุบัน

เกาหลีเหนือ
                นับตั้งแต่มีการสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี  (Democratic People’s Republic of Korea)  หรือเกาหลีเหนืออย่างเป็นทางการในวันที่    กันยายน ค.ศ. ๑๙๔๘  ฐานะทางการเมืองของประธานาธิบดีคิมอิลซุงค่อนข้างจะมั่นคง  เนื่องจากสามารถขจัดคู่แข่งคนสำคัญๆ  ตั้งแต่ครั้งสงครามเกาหลีได้อย่างราบคาบ  อำนาจสูงสุดเด็ดขาดในพรรคกรรมกรของเกาหลีเหนือจึงตกอยู่กับคิมอิลซุงแต่เพียงผู้เดียว  ทั้งทางการเมืองและทางการทหาร
                การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคมของเกาหลีเหนือภายใต้การนำของคิมอิลซุง  อาจแยกพิจารณาได้เป็น    ระยะ  คือ
                (๑)  ระยะแรก  คือ  การปฏิรูประบอบประชาธิปไตยของประชาชน  (ค.ศ. ๑๙๔๕ - ๑๙๔๘)  เป็นการสร้างพื้นฐานทางการเมืองโดยการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยของประชาชนทดแทนสถาบันแบบจารีตประเพณีที่ล้าหลัง  ทั้งนี้ไม่นับช่วง  ค.ศ. ๑๙๕๐ - ๑๙๕๓  เนื่องจากเกิดสงคราม    ปี  ระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ซึ่งยุติลงด้วยการเจรจาหยุดยิงทำสัญญาพักรบ  ในวันที่  ๒๗  กรกฎาคม        ค.ศ. ๑๙๕๓  ระหว่างประเทศทั้งสอง
                (๒)  ระยะที่สอง  คือ  การปฏิรูปสังคมนิยม  (ค.ศ. ๑๙๕๓ - ๑๙๕๖)  และการปฏิวัติสังคมนิยม  (ค.ศ. ๑๙๕๗ - ๑๙๖๐)  เป็นการปฏิรูปและปฏิวัติเพื่อสร้างประชาธิปไตยของประชาชนตามแนวทางลัทธิมาร์กซ - เลนิน
                (๓)  ระยะที่สาม  คือ  การสร้างระบอบสังคมนิยมสมบูรณ์แบบ  (ค.ศ. ๑๙๖๑ - ปัจจุบัน)  เป็นการประสบความสำเร็จในการสร้างสังคมนิยม  และระบอบคอมมิวนิสต์สมบูรณ์ตามแนวทางของพรรคกรรมกรเกาหลีเหนือ
 สภาพทางการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคมของเกาหลีเหนือ
                สภาพทางการเมืองของเกาหลีเหนือ
                (๑)  อุดมการณ์  การที่คิมอิลซุงและพรรคกรรมกรเกาหลีมีอำนาจผูกขาดในเกาหลีเหนือ  ทำให้อิทธิพลของคิมอิลซุงที่เรียกว่า  แนวคิดแบบจูเชอะ  (Chuch’e idea)  หรือหลักการพึ่งตนเองถูกผนวกไว้เป็นกฎหมายสูงสุดแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญปัจจุบันของเกาหลีเหนือ  ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อวันที่  ๒๗  ธันวาคม  ค.ศ. ๑๙๗๒  แทนรัฐธรรมนูญฉบับ  ค.ศ. ๑๙๔๘  ซึ่งเลียนแบบสหภาพโซเวียตทั้งหมด  หลักการจูเชอะมี    ประการ  คือ
                        -  สาธารณรัฐประชาชนเกาหลีเหนือจะต้องมีเอกราชทางการเมืองที่แท้จริง
                        -  จะต้องสามารถพึ่งพาตนเองในทางเศรษฐกิจ
                        -  จะต้องมีขีดความสามารถป้องกันประเทศด้วยตนเอง 
              การที่ต้องนำหลักการนี้มาใช้  เพราะความแตกแยกและขัดแย้งกันอย่างรุนแรงระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับสหภาพโซเวียต  ซึ่งได้ดำเนินมาตลอดตั้งแต่  ค.ศ. ๑๙๖๐  ทำให้ผู้นำของเกาหลีเหนือต้องกำหนดนโยบายในการปกครองบริหารประเทศเสียใหม่ที่จะทำให้ประเทศอยู่ได้ด้วยตนเอง  ทำให้คับแคบและทำให้เกาหลีเหนือต้องประสบกับความล้าหลังทางเศรษฐกิจในระยะต่อมา  สำหรับลักษณะสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของเกาหลีเหนือ  เป็นการผสมผสานระหว่างรัฐธรรมนูญของประเทศคอมมิวนิสต์ต่างๆ  โดยปรับให้สอดคล้องกับเงื่อนไขของตน  โดยย้ำเน้นในเรื่องอำนาจเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพเป็นหลัก
                โดยหลักทฤษฎีแล้ว  เพื่อการสร้างเสริมให้ประเทศมีความมั่นคงเข้มแข็ง  คิมอิลซุงจะนำเอาหลักการแนวทางมวลชนมาใช้ในลักษณะประชาธิปไตยรวมศูนย์  (Democratic Centralism)  ด้วยการที่พรรคกรรมกรเกาหลีเหนือ  จะเป็นองค์กรสำคัญในการกำหนดนโยบายการพิจารณาและลงมติ  แล้วจึงนำมติของพรรคไปสู่ประชาชนเพื่อให้ยึดถือปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว  ทั้งนี้ภายใต้การชี้ชวนและส่งเสริมให้ประชาชนปฏิบัติตามกรอบกว้างๆ  ของมติพรรคที่วางไว้  ด้วยความกระตือรือร้นและกล้าวิพากษ์วิจารณ์  โดยอาศัยลักษณะผู้นำของคิมอิลซุงที่มีบารมีเป็นอำนาจ  เพื่อช่วยให้นโยบายของรัฐมีผลในทางปฏิบัติ  กระบวนการดังกล่าวจะช่วยให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  แทนที่จะเป็นเพียงการกำหนดนโยบายโดยพรรคและชี้นำให้ประชาชนปฏิบัติตามแต่เพียงฝ่ายเดียว
                ขณะเดียวกัน  เมื่อคิมอิลซุงต้องการขจัดคู่แข่งทางการเมืองภายในพรรค  ก็จะนำเอาทฤษฎีการใช้อำนาจเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ  มาใช้สร้างเงื่อนไขความขัดแย้งให้พัฒนาเป็นการต่อสู้ระหว่างชนชั้น  โดยอ้างว่าเพื่อขจัดศัตรูของการปฏิบัติ  พวกเจ้าที่ดิน  นายทุนนายหน้า  และพวกลัทธิแก้  วิธีการดังกล่าวทำให้ประธานาธิบดีคิมอิลซุงสามารถปกครองและรักษาอำนาจผูกขาดความเป็นผู้นำไว้ได้ตลอดมา  โดยมีแนวโน้มว่าจะผลักดันให้คิมจองอิล  (Kim Jong Il)  บุตรชายสืบตำแหน่งต่อไป  ขณะที่มีเสียงโจมตีว่าเป็นลักษณะการผูกขาดอำนาจอยู่เฉพาะในหมู่ชาติมิตรของผู้นำเอง
                (๒)  สถาบันทางการเมือง  ตามรัฐธรรมนูญฉบับ  ค.ศ. ๑๙๗๒  ของเกาหลีเหนือมีการแบ่งแยกอำนาจเป็นองค์กรสำคัญต่างๆ    ฝ่าย  ทั้งนี้อยู่ภายใต้การควบคุมบงการของพรรคกรรมกรเกาหลีแต่เพียงพรรคเดียว  องค์กรทั้ง    ได้แก่
                        -  พรรคกรรมกรเกาหลี  เป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวตามอุดมการณ์คอมมิวนิสต์  ทำหน้าที่ควบคุมดูแลนโยบายหลักสำคัญสูงสุดของประเทศ  ซึ่งที่ประชุมพรรคจะทำการพิจารณาตัดสินนโยบาย  โดยคณะกรรมการเมืองของพรรคซึ่งประกอบด้วยผู้นำพรรคระดับสูงที่ได้รับเลือกจากคณะกรรมการกลางประชาชน  จะเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำในรายละเอียด  ก่อนที่จะนำไปปฏิบัติต้องได้รับการอนุมัติจากสภาประชาชนสูงสุดก่อน  แล้วสภาบริหารหรือคณะรัฐมนตรีจึงจะนำนโยบายที่พรรคมอบหมายไปปฏิบัติ
                        -  สภาประชาชนสูงสุด  (Supreme People’s Assembly)  ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติประกาศใช้หรือยกเลิกกฎหมายและปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญของประเทศ  โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขสูงสุดของประเทศ
                        -  คณะกรรมการกลางประชาชน  (Central People’s Committee)  มีหน้าที่ควบคุมอำนาจและกำหนดนโยบายแห่งรัฐทั้งกิจการภายในและภายนอก  รวมทั้งด้านการป้องกันประเทศ  ด้านยุติธรรม  และความมั่นคงแห่งรัฐ  รวมทั้งมีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนเอกอัครราชทูตเกาหลีเหนือประจำประเทศต่างๆ  และแต่งตั้ง  โยกย้าย  ถอดถอนรัฐมนตรีอีกด้วย
                        -  สภาบริหาร  (Administrative Council)  หรือคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารงานในแต่ละกระทรวง  ทบวง  กรม  โดยอยู่ภายใต้การควบคุมแนะนำของประธานาธิบดีและคณะกรรมการกลางประชาชนอีกทีหนึ่ง
                สำหรับตำแหน่งประธานาธิบดีของเกาหลีเหนือ  เป็นทั้งหัวหน้าฝ่ายบริหาร  และประมุขของประเทศ  นอกจากนั้น  ยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะกรรมการกลางประชาชนและผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพอีกด้วย  ซึ่งคิมอิลซุงดำรงตำแหน่งนี้มาจนถึงปัจจุบัน
                สภาพทางเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือ
                การดำเนินการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือ  กระทำประสานสอดคล้องกับทางการเมือง  โดยอาจแบ่งออกเป็น    ระยะเช่นกัน  คือ
                        -  ระยะแรก  คือ  ตั้งแต่ระยะปลดแอกประเทศจนถึงระยะฟื้นฟูประเทศหลังสงครามเกาหลีสงบ  (ค.ศ. ๑๙๕๓ - ๑๙๕๖)  โดยเว้นช่วงชะงักงันอันเนื่องมาจากสงคราม    ปี  (ค.ศ. ๑๙๕๐ - ๑๙๕๓)
                        -  ระยะที่สอง  คือ  ช่วงการปฏิวัติเศรษฐกิจให้เป็นแบบสังคมนิยมอุตสาหกรรมภายใต้โครงการเศรษฐกิจ    ปีแรก  (ค.ศ. ๑๙๕๗ - ๑๙๖๑)
                        -  ระยะที่สาม  คือ  ช่วงการเน้นการปฏิวัติทางเทคโนโลยี  (ค.ศ. ๑๙๖๑ - ๑๙๖๗)  ต่อมาได้ยึดเวลาของโครงการฉบับที่    ออกไปอีก    ปี  (ค.ศ. ๑๙๖๘ - ๑๙๖๙)  และได้ประกาศใช้โครงการเศรษฐกิจ    ปี  (ค.ศ.๑๙๗๑ - ๑๙๗๖)  และโครงการเศรษฐกิจ    ปี  (ค.ศ. ๑๙๗๘ - ๑๙๘๔)  ในปัจจุบัน
                โครงการปฏิรูปประชาธิปไตยประชาชน  ซึ่งประกาศใช้ในช่วง  ค.ศ. ๑๙๔๕ - ๑๙๔๘  ได้โอนกิจการทุกชนิด  ทั้งอุตสาหกรรม  พาณิชยกรรม  และเกษตรกรรมของชาวญี่ปุ่นและนายทุนนายหน้าชาวเกาหลีเข้าเป็นของรัฐ  ใน  ค.ศ. ๑๙๔๘  ธุรกิจทั้งหมดทั้งทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมในเกาหลีเหนือตกเป็นของรัฐถึงร้อยละ  ๙๐.๗  ทางภาคเกษตรกรรม  มีการประกาศใช้โครงการปฏิรูปที่ดิน  ใน  ค.ศ. ๑๙๔๖  รัฐบาลสามารถยึดและบังคับซื้อที่ดินของเอกชนได้ถึงร้อยละ  ๙๘.๑  ของที่ดินทำกินทั้งหมดในเกาหลีเหนือต่อมา  รัฐบาลได้จัดสรรที่ดินส่วนใหญ่ให้ชาวนาที่ไม่มีที่ดินทำกินและเจ้าของที่ดินขนาดเล็ก  ที่ดินส่วนที่รัฐบาลได้จัดสรรให้คณะกรรมการพรรคระดับมณฑลและอำเภอ  นำไปจัดสรรผลประโยชน์บำรุงกิจการของพรรคในระดับต่างๆ  รวมทั้งการพัฒนาแหล่งที่ดินเสื่อมโทรมให้เหมาะสมเป็นที่ทำกินของประชาชนในรูปนิคมสร้างตนเอง  หรือสหกรณ์การเกษตร  นอกจากนั้นรัฐบาลยังได้จัดหาอุปกรณ์การเพาะปลูกให้  โดยหักรายได้ของสมาชิกในแต่ละปีจากรายรับที่ได้จากผลผลิตทางการเกษตร
                คิมอิลซุงได้ตัดสินใจพัฒนาเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือตามแบบสหภาพโซเวียตที่สาธารณรัฐประชาชนจีนดำเนินรอยตามอยู่  ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาความเสียหายหลังสงคราม  โดยเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมหนักเป็นพื้นฐาน  ทั้งอุตสาหกรรมเหล็ก  เครื่องจักรกล  อู่ต่อเรือ  เหมืองแร่  ไฟฟ้า  เคมีภัณฑ์  ฯลฯ  ควบคู่กับการปฏิวัติเกษตรกรรมเป็นเป้าหมายรองสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นมิตรประเทศที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือเกาหลีเหนือตลอดมา  จนทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจฟื้นตัวและรุดหน้าอย่างรวดเร็ว  ตั้งแต่  ค.ศ. ๑๙๕๓  เป็นต้นมา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยเหลือสร้างปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ  เช่น  ทางหลวงแผ่นดิน  เขื่อนขนาดใหญ่  สนามบินและท่าเรือน้ำลึก  เป็นต้น  ประมาณกันว่าตั้งแต่  ค.ศ. ๑๙๔๙ - ๑๙๖๔  เกาหลีเหนือได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตประมาณ  ๕๕๐  ล้านเหรียญดอลลาร์  หรือประมาณร้อยละ  ๔๐  ของความช่วยเหลือจากต่างประเทศทั้งหมด  และจากสาธารณรัฐประชาชนจีนประมาณ  ๔๑๗  ล้านเหรียญดอลลาร์  หรือประมาณร้อยละ  ๓๘  ของความช่วยเหลือจากต่างประเทศทั้งหมด
                สำหรับการปฏิวัติเกษตรกรรม  ซึ่งเป็นเศรษฐกิจสังคมชนบท  รัฐบาลเกาหลีเหนือใช้ระบบสหกรณ์การเกษตรรวม    แบบ  คือ
                -  สหกรณ์แบบพื้นฐาน  รัฐบาลช่วยเหลือในการจัดตั้งให้  โดยให้สมาชิกสหกรณ์แต่ละแห่งช่วยกันผลิตอาหารและเลี้ยงสัตว์ร่วมกัน  โดยแยกทรัพย์สินกันในแต่ละครอบครัว  สมาชิกสหกรณ์จึงได้รับผลประโยชน์ไม่เท่ากัน  โดยมีสหกรณ์เป็นองค์การกลางในฐานะตัวแทนซื้อขายผลผลิตและบริการสินค้าจำเป็นแก่สมาชิก  รวมทั้งเป็นตัวแทนรับความช่วยเหลือและเผยแพร่นโยบายของรัฐบาลแก่สมาชิกด้วย
                -  สหกรณ์แบบกึ่งคอมมูน  สมาชิกสหกรณ์ทั้งหมดจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกัน ทั้งนี้โดยชาวนาเจ้าของที่ดินแต่ละครอบครัวจะนำอุปกรณ์การเกษตรและต้นทุนการผลิตทั้งหมดมาลงทุนร่วมกัน  สำหรับการแบ่งสันปันส่วนผลิตผลที่ได้จะเฉลี่ยตามปริมาณทรัพย์สินที่สมาชิกแต่ละคนถือเป็นทุนเข้าร่วมกับสหกรณ์  สมาชิกแต่ละคนจึงได้รับผลประโยชน์ไม่เท่ากันเช่นกัน
                -  สหกรณ์แบบสังคมนิยมสมบูรณ์  ถือเอาปริมาณของแรงงานที่แต่ละคนใช้ในการสร้างผลผลิตเป็นเครื่องแบ่งรายได้จากการผลิต  สมาชิกของสหกรณ์จะได้รับผลประโยชน์ไม่เท่ากันแต่ก็จะไม่แตกต่างกันมากนัก
                ผลจากการรณรงค์ผลักดันของรัฐบาลและพรรคกรรมกรเกาหลีให้ชาวนาตระหนักถึงคุณค่าของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว  ตามโครงการที่ให้คนเกาหลีใช้แรงงานร่วมกันเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกในการสร้างสังคมที่เป็นธรรมขึ้น  ทำให้ชาวนาส่วนใหญ่ซึ่งนิยมเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์แบบพื้นฐานและแบบกึ่งคอมมูนในระยะแรก  หันมาเข้าเป็นสมาชิกแบบสังคมนิยมสมบูรณ์มากที่สุดถึงร้อยละ  ๙๗.๕  ของจำนวนสมาชิกสหกรณ์ทั้งหมดใน  ค.ศ. ๑๙๖๕  ความสำเร็จของระบบสหกรณ์การเกษตรของเกาหลีเหนือ  ทำให้สามารถขจัดปัญหาขาดแคลนอาหารบริโภคที่มีมาตั้งแต่  ค.ศ. ๑๙๕๓  ได้อย่างเด็ดขาด
                ใน  ค.ศ. ๑๙๕๗  อันเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงประเทศจากสังคมกึ่งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม  ไปสู่สังคมนิยมอุตสาหกรรม  เกาหลีเหนือได้ประกาศใช้  โครงการม้าบิน  หรือ  จอลลิมา  (Chollima)  อันเป็นโครงการที่มุ่งรณรงค์มวลชนและระดมทรัพยากรในประเทศทั้งหมดเพื่อขยายการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมให้เป็นพื้นฐานรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก
                โครงการม้าบินของเกาหลีเหนือ  ใช้วิธีการเน้นความสำคัญของนโยบายมวลชนด้วยการสร้างคำขวัญ  และการปลุกระดมกระตุ้นประชาชนให้ร่วมมือกันเร่งขยายปริมาณการผลิตให้มีปริมาณและประสิทธิภาพสูง  ยุทธวิธีที่ใช้  คือ  พยายามกระจายอำนาจการตัดสินใจและวางแผนนโยบายเฉพาะด้าน  จากอำนาจบริหารของรัฐบาลกลางให้แก่หน่วยการปกครองท้องถิ่น  ซึ่งเป็นหน่วยผลิตและหน่วยปกครองพื้นฐานทั่วประเทศ  สร้างระบบผู้นำร่วมในโรงงานอุตสาหกรรมและสหกรณ์การเกษตรทุกแห่งโดยให้สมาชิกพรรคกรรมกรเกาหลีแต่ละหน่วยผลิตตั้งคณะกรรมการพรรคประจำ  เพื่อทำหน้าที่จัดการและบริหารงาน  ควบคู่ไปกับการย้ำแนวทางมวลชนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง  เพื่อเร่งเร้าหน่วยผลิตทั่วประเทศให้เพิ่มพูนประสิทธิภาพการจัดการและการบริหารงานให้ดียิ่งขึ้น
                ผลของการรณรงค์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือตามโครงการม้าบินปรากฏว่าเกิดผลดีเกินคาด  ผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมทุกประเภทในช่วง  ค.ศ. ๑๙๕๗ - ๑๙๗๐  เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ  ๑๙.๑  ต่อปี
                สภาพทางสังคมของเกาหลีเหนือ
                ทางด้านสังคมของเกาหลีเหนือ  ได้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงแก้ไขเช่นเดียวกัน  ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับสังคมใหม่ภายใต้ระบอบสังคมนิยม  โครงการที่นำมาใช้  คือ  การปฏิวัติวัฒนธรรม  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปลดแอกชนชั้นกรรมาชีพให้หลุดพ้นจากพันธนาการของสังคมเก่า  ด้วยการยกเลิกขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติแบบเดิม  และสร้างความเชื่อหรืออุดมการณ์ชีวิตแบบสังคมนิยมเข้าแทนที่เพื่อบรรลุตามนโยบายดังกล่าว  มี    ขั้นตอนสำคัญ  คือ
                ก.  ขจัดปัญหาการไม่รู้หนังสือของประชาชน  ควบคู่ไปกับการปฏิวัติวัฒนธรรมเพื่อสร้างวิถีชีวิตแบบใหม่ของมวลชนให้สอดคล้องกับเป้าหมายการปฏิวัติทางการเมืองและเศรษฐกิจ
                ข.  เร่งรัดพัฒนาการศึกษาระดับสูง  โดยเน้นเรื่องความเชี่ยวชาญทางด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมสมัยใหม่  ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ  ด้านการขจัดปัญหาการไม่รู้หนังสือของประชาชนใน  ค.ศ. ๑๙๕๐  รัฐบาลได้ประกาศโครงการศึกษาภาคบังคับทั่วประเทศ  โดยตั้งโรงเรียนกรรมกรชาวนา  และโรงเรียนระดับกลางตามโรงงานอุตสาหกรรมและสหกรณ์การเกษตรทุกแห่ง  สามารถขจัดปัญหาการไม่รู้หนังสือได้ภายใน    ปี  ขณะเดียวกันสามารถเผยแพร่อุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ได้ผลเป็นอย่างดี  นอกจากนั้น  รัฐบาลยังได้ก่อตั้งสถาบันขั้นอุดมศึกษา  ซึ่งก่อนหน้าที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์จะยึดครองยังไม่เคยมีมาก่อน  ปัจจุบันเกาหลีเหนือมีสถาบันอุดมศึกษากว่า  ๑๐๐  แห่ง  โรงเรียนเทคนิคชั้นสูงเกือบ  ๔๐๐  แห่ง
                ทางด้านสาธารณสุขและสวัสดิการสังคมต่างๆ  รัฐบาลได้เร่งระดมเพื่อให้สงผลถึงประชาชนกว้างขวางยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะในเขตชนบท  เป็นผลให้ประชาชนฐานะยากจนในชนบทมีฐานะดีขึ้น
                อย่างไรก็ดี  โดยทั่วไปแล้วนับได้ว่ารัฐบาลเกาหลีเหนือ  ได้เข้าไปควบคุมบงการชีวิตทางสังคมของประชาชนมากทีเดียว  ประชาชนเกาหลีเหนือจะต้องใช้เวลาประมาณวันละถึง    ใน    ในการศึกษา  และในองค์กรมวลชนของรัฐ  การดำรงชีวิตประจำวันทั่วๆ  ไป  ก็ค่อนข้างจะอยู่ในกรอบที่รัฐบาลวางไว้ตามอุดมการณ์คอมมิวนิสต์  สิทธิเสรีภาพของประชาชนจึงต้องอยู่ในขอบเขตที่รัฐบาลกำหนดให้  เช่น  การกำหนดและจำกัดเขตเดินทาง  สื่อมวลชนเป็นของรัฐ  ความไม่มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา  เป็นต้น
ข.  ปัญหาและอนาคตด้านการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคมเกาหลีเหนือ
                ปัญหาและอนาคตด้านการเมืองของเกาหลีเหนือ
                เกาหลีเหนือในอดีตและปัจจุบันภายใต้การนำของคิมอิลซุง  นับได้ว่าดำเนินไปค่อนข้างราบรื่น  ทั้งนี้ด้วยความสามารถในการใช้ยุทธวิธีทางการเมืองการทหาร  และความเป็นผู้นำที่มีบารมีของคิมอิลซุง  ในฐานะที่เป็นผู้สร้างชาติจนกระทั่งเกาหลีเหนือเป็นปึกแผ่นมั่นคงทำให้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ  ลุล่วงไปได้  อย่างไรก็ดี  ยังเป็นที่หวั่นเกรงกันโดยทั่วไปว่า  หากคิมอิลซุงถึงแก่อสัญกรรมอาจเกิดปัญหาวิกฤตการณ์ผู้นำขึ้นได้  แม้ว่าจะเชื่อกันว่าคิมอิลซุงคงจะสามารถใช้ยุทธิวิธีแนวทางมวลชนและแนวทางชนชั้นขจัดศัตรูคู่แข่งขันทางการเมืองของตนได้เช่นที่เป็นมาในอดีต  และแม้จะมีแนวโน้มว่าคิมอิลซุงได้พยายามสร้างคิมจองอิล  บุตรชายคนโตของตนให้เป็นทายาททางการเมืองก็ตาม  แต่เนื่องจากปัจจุบันเกาหลีเหนือกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ  อันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศโดยเฉพาะจากวิกฤตการณ์น้ำมัน  จึงอาจเป็นปัจจัยก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้นในอนาคตได้  อันเป็นผลเนื่องมาจากการขัดแย้งในอำนาจ  และแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
                หากคิมจองอิล  ซึ่งเป็นบุตรชายที่คิมอิลซุงคาดหวังจะให้เป็นทายาททางการเมืองของตน  เป็นที่ยอมรับในความสามารถ  ปัญหาก็อาจหมดไปหรือเบาบางลง  แต่หากไม่เป็นที่ยอมรับและคู่แข่งทางการเมืองของคิมอิลซุงสามารถรวมตัวกันได้ย่อมเกิดปัญหาขึ้น  ทั้งนี้โดยการโจมตีว่ามีลักษณะผูกขาดอำนาจทางการเมืองอยู่เฉพาะในหมู่ญาติมิตรของตนเท่านั้น  อย่างไรก็ดี  ปัจจัยสำคัญน่าจะไม่ใช่เพียงเรื่องอำนาจทางการเมืองการทหารเท่านั้น  ประเด็นทางเศรษฐกิจก็น่าจะเป็นปัจจัยชี้ขาดอีกประการหนึ่งด้วย  กล่าวคือ  เสถียรภาพทางเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือในปัจจุบัน  และแนวโน้มในอนาคตที่กำลังประสบปัญหาอยู่ไม่น้อยจะกลายเป็นปัจจัยตัดสินที่สำคัญซึ่งชี้ให้เห็นความถูกต้องหรือผิดพลาดของนโยบายการบริหารประเทศภายใต้การนำของคิมอิลซุงว่า  สมควรจะต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ยุทธวิธีให้สอดคล้องตามสถานการณ์หรือไม่เพียงใด  ซึ่งนั่นย่อมหมายถึงการมีผลต่อการเปลี่ยนตัวผู้นำคนต่อไปของเกาหลีเหนือด้วย
                ปัญหาและอนาคตด้านการต่างประเทศของเกาหลีเหนือ
                สภาพที่ตั้งของเกาหลีเป็นคาบสมุทร  เชื่อมระหว่างมหาอำนาจบนแผ่นดินใหญ่  คือ  สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีน  ซึ่งเป็นมหาอำนาจทางการเมืองและการทหารกับญี่ปุ่นซึ่งเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง  และยังเชื่อมโยงไปถึงสหรัฐอเมริกา  ทำให้เกาหลีเหนือตกอยู่ในฐานะประเทศกันชน  ระหว่างมหาอำนาจต่างๆ  ประวัติศาสตร์ของเกาหลีจนกระทั่งปัจจุบัน  จึงเป็นเวทีที่มหาอำนาจทุกฝ่ายต่างเข้ามามีบทบาทแข่งขันอำนาจกันเพื่อยึดครองตลอดมา
                แม้ว่าจะได้มีการแบ่งแยกเกาหลีเหนือและใต้ออกจากกันอย่างเด็ดขาดแล้วก็ตาม  แต่เกาหลีเหนือในปัจจุบันก็ยังต้องเผชิญกับปัญหาด้านการต่างประเทศอยู่เสมอมา  และแม้ว่าลักษณะการเผชิญหน้ากันในยุคสงครามเย็น  (Cold War)  ระหว่างฝ่ายโลกเสรีภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกา  กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีน  จะทุเลาเบาบางลงไปมาก็ตาม  แต่กลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ด้วยกันเองกลับขัดแย้งแข่งขันกันมากขึ้น
                หลังจากการเผชิญหน้ากันอย่างตึงเครียดสิ้นสุดลงหลังสงครามเกาหลี  การเมืองระหว่างประเทศได้ก้าวหน้าเข้าสู่ยุคประนีประนอมคืนดีกัน  (Rapprochement)  โดยที่ประธานาธิบดีริชาร์ด  นิกสัน  (Richard Nixon)  แห่งสหรัฐอเมริกาได้เดินทางไปเชื่อมสัมพันธไมตรีกับสาธารณรัฐประชาชนจีน  ซึ่งนำไปสู่การสถาปนาสัมพันธภาพทางการทูตต่อกันอย่างเป็นทางการ  เมื่อวันที่    มกราคม  ค.ศ. ๑๙๗๙  การปรับความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับสหรัฐอเมริกา  นับเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาวะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออก  ซึ่งแบ่งค่ายตามแนวอุดมการณ์ระหว่างคอมมิวนิสต์กับทุนนิยมไปอย่างชัดเจน  สหรัฐอเมริกาซึ่งเคยกังวลว่าจะต้องทำสงคราม    ด้าน  เพราะสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพโซเวียตร่วมมือกัน  แต่เมื่อสามารถปรับเปลี่ยนสถานการณ์ได้  สหภาพโซเวียตกลับต้องกังวลกับการร่วมมือระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับสหรัฐอเมริกาแทน  สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพโซเวียตกับสาธารณรัฐประชาชนจีนกลับขัดแย้งกันรุนแรงมากขึ้น  ซึ่งมิใช่ปัญหาอันเนื่องมาจากด้านอุดมการณ์การเมืองเพียงประการเดียวเท่านั้น  แต่ขัดแย้งกันด้วยเรื่องผลประโยชน์ของชาติที่แตกต่างกันอีกด้วย  ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบถึงแนวนโยบายต่างประเทศของเกาหลีเหนืออย่างมาก  เพราะเดิมทีนั้น  เมื่อสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีนยังมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  เกาหลีเหนือได้รับความช่วยเหลือค้ำจุนจากทั้ง    ประเทศตลอดมา  กระทั่งเกาหลีเหนือสามารถพัฒนาประเทศจนพึ่งตนเองได้  จึงเป็นเรื่องค่อนข้างยากสำหรับเกาหลีเหนือที่จะรักษาผลประโยชน์ของตน  ด้วยการพยายามรักษาความสัมพันธ์กับทั้ง    ประเทศ  ไม่ให้มีมากน้อยยิ่งหย่อนกว่ากัน  เพราะหากไปสนิทสนมกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นพิเศษย่อมจะกลายเป็นศัตรูกับอีกประเทศหนึ่งไปโดยอัตโนมัติ  ซึ่งย่อมไม่เป็นผลดีต่อเกาหลีเหนือในระยะยาว
                ความพยายามของเกาหลีเหนือ  เพื่อหลีกเลี่ยงการขัดแย้งแข่งขันระหว่างสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีน  กระทำโดยพยายามพัฒนาการมีสัมพันธภาพทางการทูตและการค้ากับประเทศโลกเสรีมากยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศในกลุ่มอาเซียนในรูปการกู้ยืมสินเชื่อต่างๆ  เพื่อหาทางลดความผูกพันและลดการพึ่งพามหาอำนาจทั้งสองลง  อย่างไรก็ดี  ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจนว่า  เกาหลีเหนือมีความสัมพันธ์สนิทสนมกับสาธารณรัฐประชาชนจีนมากกว่าสหภาพโซเวียต  เนื่องจากสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่เกาหลีเหนือเพิ่มมากขึ้น  ขณะที่ในระยะหลังสหภาพโซเวียตเร่งรัดการชำระหนี้โดยไม่ยอมผ่อนปรนให้ดังแต่ก่อน

แนวโน้มที่แสดงว่าเกาหลีเหนือมีความสนิทสนมกับสาธารณรัฐประชาชนจีนมากขึ้น
เห็นได้จากการเดินทางไปเยือนประเทศนี้ของประธานาธิบดีคิมอิลซุง  เป็นเวลานานถึง  ๑๐  วัน
                ปัญหาและอนาคตด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกาหลีเหนือ
                (๑)  ปัญหาและอนาคตด้านเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือ
                แม้ว่าเกาหลีเหนือจะเคยประสบผลสำเร็จด้านการพัฒนาเศรษฐกิจมาก่อน  แต่ในปัจจุบัน  เกาหลีเหนือก็ไม่อาจหลีกพ้นจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศซึ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้นตั้งแต่ช่วง     ค.ศ. ๑๙๗๓  ไปได้  วิกฤตการณ์น้ำมันเป็นปัญหามูลฐานที่เกาหลีเหนือต้องประสบเนื่องจากเกาหลีเหนือต้องใช้น้ำมันในการพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก  แต่เกาหลีเหนือไม่มีแหล่งน้ำมันดิบของตนเอง  ดังนั้น  เมื่อพยายามจะใช้นโยบายเปิดประเทศมากขึ้น  เพื่อลดการพึ่งพาประเทศมหาอำนาจสังคมนิยมซึ่งขัดแย้งกันและเพื่อแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจด้วยการขยายการค้าระหว่างประเทศ  ก็ยังมีปัญหาขาดประสบการณ์และความสามารถทางการผลิตที่ยังสู้ต่างประเทศไม่ได้  ทำให้ไม่สามารถแสวงหาเงินตราต่างประเทศ  เพื่อนำไปชำระหนี้ที่กู้ยืมมาจากต่างประเทศ  โดยเฉพาะกับญี่ปุ่นและประเทศยุโรปบางประเทศได้ทันกำหนดเวลา  เป็นผลให้ไม่สามารถเพิ่มการกู้ยืมเงินทุนเพื่อใช้พัฒนาประเทศได้ดังแต่ก่อน  สินค้าออกสำคัญของเกาหลีเหนือซึ่งได้แก่  สินแร่และโลหะต่างๆ  นั้นก็ประสบปัญหาราคาในตลาดโลกไม่แน่นอน  ทำให้กระทบกระเทือนการส่งออกเป็นอันมาก  การที่เกาหลีเหนือยังคงทุ่มเทงบประมาณด้านการทหารมากเกินไปเพื่อหวังรวมเกาหลีให้เป็นอันเดียวกัน  เป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เป็นผลให้เกาหลีเหนือในปัจจุบันต้องประสบปัญหายุ่งยากทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง  พิจารณาโดยส่วนรวมแล้วจึงปรากฏว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้มีลักษณะรุดหน้ากว่าเกาหลีเหนือ  ทั้งนี้ก็เนื่องจากเกาหลีใต้ใช้การพัฒนาเศรษฐกิจแบบแข่งขัน  เพื่อความเจริญก้าวหน้าของระบอบทุนนิยมมากกว่าที่จะเน้นการเฉลี่ยกระจายเพื่อความเสมอภาคของระบอบสังคมนิยมแบบเกาหลีเหนือ  ลักษณะของเกาหลีใต้จึงเป็นภาพเปรียบเทียบท้าทายต่อสภาพทางเศรษฐกิจการเมืองของเกาหลีเหนือมากทีเดียว
                อย่างไรก็ดี  การแก้ปัญหาเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือคงจะไม่ใช้วิธีหันกลับไปพึ่งพาขอความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากสหภาพโซเวียต  และสาธารณรัฐประชาชนจีนมากดังเช่นในอดีตอีก  เพราะประเทศทั้งสองก็ประสบปัญหาเช่นกัน  แนวโน้มจึงน่าจะเป็นไปได้ว่า  เกาหลีเหนือคงต้องดำเนินนโยบายเปิดประเทศเพื่อขอรับความช่วยเหลือร่วมมือจากต่างชาติให้มากยิ่งขึ้น  ขณะเดียวกัน  คงจะมีการพัฒนาปรับปรุง  หรืออาจถึงขั้นเปลี่ยนแปลงแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์มากยิ่งขึ้น  ดังเช่นที่สาธารณรัฐประชาชนจีนกำลังเร่งดำเนินการอยู่  คือ  การนำเอาวิธีการอันจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศทุนนิยมมาใช้  โดยเฉพาะหลักแรงจูงใจด้วยการให้ผลประโยชน์ทางวัตถุตอบแทน  และการขยายการผลิตโดยให้ประชาชนสามารถแข่งขันกันได้บางส่วน  เพื่อการขยายผลผลิตของประเทศโดยส่วนรวมให้เพิ่มปริมาณมากขึ้น  อันจะช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นกว่าเดิม  แต่ทั้งนี้จะต้องให้สอดคล้อง  หรืออย่างน้อยก็ต้องไม่ขัดต่อเอกลักษณ์ของระบอบเผด็จการประชาธิปไตยประชาชนภายใต้การนำของพรรคแรงงานเกาหลี  เพราะมิเช่นนั้นอาจส่งผลกระทบถึงโครงสร้างทางการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคมของระบอบสังคมนิยมของเกาหลีเหนือในระยะยาวได้
                (๒)  ปัญหาและอนาคตด้านสังคมของเกาหลีเหนือ
                การที่เกาหลีเหนือต้องประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง  อันเป็นผลโดยตรงมาจากวิกฤตการณ์น้ำมัน  ซึ่งทำให้ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือต้องอยู่ในภาวะชะงักงัน  ไม่สามารถเพิ่มขยายการลงทุนได้อย่างรวดเร็ว  ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมติดตามมา  โอกาสที่ประชาชนเกาหลีเหนือจะมีชีวิตความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจสังคมดีขึ้น  จึงขึ้นอยู่กับความสามารถทางเศรษฐกิจของผู้นำรัฐบาลและพรรคแรงงานเกาหลีเหนือเป็นอย่างมากว่า  จะสามารถปรับตัวได้ดีมากน้อยเพียงใด  ในอนาคตหากรัฐบาลเกาหลีเหนือไม่สามารถแก้ไขปัญหาสวัสดิการด้านต่างๆ  ของประชาชนให้ดีขึ้นได้  อาจเป็นไปได้ที่จะเกิดปัญหาประชาชนไม่พอใจลุกฮือขึ้นต่อต้านประท้วงรัฐบาล  ดังกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นถึงขันวิกฤตการณ์ในโปแลนด์ซึ่งเป็นประเทศสังคมนิยมมาแล้ว  ในลักษณะที่ประชาชนในกลุ่มสาขาอาชีพแรงงานต่างๆ  ขอเข้ามีส่วนร่วมในการบริหาร  แก้ไขเศรษฐกิจของชาติ  นั่นย่อมหมายถึงผลกระทบที่จะมีต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของเกาหลีเหนือในระยะยาวอย่างแน่นอน
เกาหลีใต้
                ภายหลังการสถาปนาสาธารณรัฐเกาหลี  (Republic of Korea)  หรือเกาหลีใต้ขึ้นอย่างเป็นทางการใน  ค.ศ. ๑๙๔๘  ซิงมันรี  อดีตผู้นำชาตินิยมที่มีประวัติการต่อสู้อย่างโชกโชนได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี  และเขาสามารถผูกขาดอำนาจของประเทศไว้ได้อย่างมั่นคงภายใต้การนำของพรรคเสรีนิยม  (Liberal Party)
ก.  สภาพทางการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคมของเกาหลีใต้
                การพิจารณาสภาพการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคมของเกาหลีใต้  อาจแบ่งได้เป็น    ยุค  คือ
                ๑.  เกาหลีใต้ภายใต้การปกครองสมัยซิงมันรี  ในยุคนี้เกาหลีใต้ได้รับการสนับสนุนค้ำจุนจากสหรัฐอเมริกาอย่างมากทั้งทางเศรษฐกิจและการทหาร  เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศหลังสงครามให้ฟื้นตัว  แต่พื้นฐานเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ได้ไม่เอื้ออำนวยต่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ  เนื่องจากถูกลุ่มเศรษฐกิจผูกขาดตักตวงผลประโยชน์เพื่อคนกลุ่มน้อยโดยร่วมมือกับกลุ่มการเมืองผูกขาดของซิงมันรี  สำหรับทรัพย์สินในวงการธุรกิจต่างๆ  ของเกาหลีใต้ประมาณร้อยละ  ๙๐  เคยเป็นของญี่ปุ่นสมัยเข้ามายึดครองเกาหลี  เมื่อสงครามโลกครั้งที่    สงบลง  ทรัพย์สินดังกล่าวได้ตกเป็นของรัฐบาลซึ่งไม่มีความสามารถที่จะดำเนินการได้ด้วยตนเอง  รัฐบาลซิงมันรีจึงได้นำธุรกิจดังกล่าวไปจัดสรรให้เอกชนซึ่งเป็นกลุ่มนักธุรกิจที่มีความสัมพันธ์เป็นพิเศษกับกลุ่มของตน  โดยมอบหมายให้ดำเนินธุรกิจเฉพาะขนาดกลางและขนาดเล็ก  ซึ่งเป็นธุรกิจที่ให้ผลกำไรในระยะสั้นแต่มีความมั่นคงแน่นอน  ส่วนรัฐบาลเข้ารับภาระในธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องการลงทุนสูงและให้ผลกำไรในระยะยาวกับทั้งมีอัตราเสี่ยงสูง  ในที่สุด  เกาหลีใต้ต้องประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างรุนแรง  อันเนื่องมาจากรัฐบาลไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ประกอบกับไม่สามารถควบคุมธุรกิจเอกชนให้ดำเนินตามนโยบายของรัฐบาลได้เพราะรัฐบาลซิงมันรีมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง  ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ  ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นสูงขึ้นอย่างมาก  และค่าเงินตราสกุลวอนของเกาหลีใต้ตกต่ำ  บรรดาประชาชนผู้มีรายได้ต่ำ  โดยเฉพาะกรรมกรชาวนาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ  ต้องประสบความยากลำบากกันอยู่ทั่วไป  จึงไม่สามารถแก้ไขสภาวะปัญหาว่างงานหลังสงครามให้ลดน้อยลงได้  ขณะเดียวกันก็มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างกว้างขวางอีกด้วย
                ต่อมา  เมื่อเสถียรภาพของรัฐบาลเริ่มคลอนแคลน  ซิงมันรีจึงถือโอกาสแก้ไขรัฐธรรมนูญบางประการเสียใหม่เพื่อค้ำจุนฐานะของตน  โดยแก้ไขให้ตำแหน่งประธานาธิบดีต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน  แทนการเลือกตั้งโดยการซาวเสียงของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  เนื่องจากซิงมันรีเริ่มไม่มั่นใจในการสนับสนุนของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  ซึ่งเริ่มมองเห็นความไร้ความสามารถของเขาในการแก้ปัญหา  คือ  ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประเทศชาติได้  เช่น  ไม่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญอย่างรวดเร็วได้  และอุตสาหกรรมใหม่ๆ  แทบไม่มีขึ้นเลย  ในขณะเดียวกัน  ด้านการเกษตรก็ได้ผลผลิตต่ำ  ทำให้เกิดความอดอยากและค่าครองชีพสูงขึ้นอย่างมากปรากฏว่าในระหว่าง  ค.ศ. ๑๙๕๓ - ๑๙๕๙  ค่าครองชีพสูงขึ้นถึงร้อยละ  ๕๐๐  ตลอดจนการผูกขาดอำนาจทางการเมืองในลักษณะพยายามนำเอาระบอบเผด็จการเข้ามาใช้มากขึ้น  ซิงมันรีจึงไม่หวังที่จะได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  แต่ซิงมันรีก็ยังหวังจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ในชนบทที่ยังไม่ทราบข้อเท็จจริง  ซึ่งยังคงนิยมศรัทธาตัวเขา  ในฐานะเคยเป็นผู้นำชาตินิยมต่อสู้เพื่อเอกราชของเกาหลีใต้ในอดีต
                อย่างไรก็ดี  แม้ซิงมันรีจะใช้อำนาจเผด็จการเฉียบขาดกับคู่ปรปักษ์ทางการเมือง  โดยใช้องค์การสืบราชการลับของเกาหลีใต้  (K.C.I.A.)  เป็นเครื่องมือเพื่อการจับกุมคุมขังสั่งปิดหนังสือพิมพ์ฝ่ายค้าน  โกงการเลือกตั้ง  ฯลฯ  แต่ก็ไม่อาจปิดกั้นการต่อต้านรัฐบาลจากประชาชนฝ่ายต่างๆ  ได้  สถานการณ์ที่มีส่วนค้ำจุนฐานะของซิงมันรีได้ทันเวลา  คือ  สงครามเกาหลี  ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากเกาหลีใต้สถาปนาประเทศได้เพียง   เดือนเท่านั้น  โดยมีสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร  ๑๕  ชาติให้การสนับสนุนด้านกำลังทหารในรูปการปฏิบัติการขององค์การสหประชาชาติ  ทำให้สามารถยุติสงครามเกาหลีใต้หลังจากสงครามดำเนินไป    ปี  ทั้งนี้ด้วยความเป็นห่วงดุลอำนาจในเอเชียที่สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นฝ่ายได้เปรียบ  เมื่อซิงมันรีมั่นใจในเสถียรภาพของตนมากยิ่งขึ้นเนื่องจากได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูจากสหรัฐอเมริกา  จึงปกครองประเทศในลักษณะเผด็จการมากยิ่งขึ้น  ต่อมา  ใน  ค.ศ. ๑๙๕๔  จึงได้แก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง  โดยยกเลิกข้อห้ามบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นประธานาธิบดีติดต่อกันมากกว่า    สมัย  หลังจากนั้น  ก็ได้ประกาศกฎอัยการศึกและจับกุมคุมขังผู้คัดค้านอำนาจเผด็จการของเขาอย่างกว้างขวาง
                การสูญสิ้นอำนาจของซิงมันรี  เกิดจากการลุกฮือของนักศึกษาประชาชนทั่วประเทศด้วยความโกรธแค้นต่อการโกงการเลือกตั้งอย่างมโหฬารของเขาใน  ค.ศ. ๑๙๖๐  ซิงมันรีรู้ว่าตนจะต้องพ่ายแพ้  จึงได้ใช้วิธีการสกปรกทุกรูปแบบเพื่อให้ตนชนะการเลือกตั้ง  เช่น  การโกงการลงคะแนนเสียง  การคุกคามผู้สนับสนุนนักการเมืองฝ่ายตรงกันข้าม  การลอบสังหารคู่แข่งขัน  ฯลฯ  จนกระทั่งเป็นผลให้พรรคเสรีนิยมชนะการเลือกตั้ง  แม้ซิงมันรีจะใช้อำนาจประกาศกฎอัยการศึกสั่งให้ตำรวจปราบปรามจลาจลระดมยิงผู้ต่อต้านอย่างทารุณ  แต่ไม่อาจต้านทานคลื่นประท้วงของประชาชนได้  และในที่สุดเมื่อกำลังทหารและตำรวจกลับหันเข้าร่วมมือกับกลุ่มผู้ต่อต้าน  อำนาจผูกขาดของซิงมันรีจึงสิ้นสุดลงภายหลังการเลือกตั้งเพียง    สัปดาห์  เนื่องจากซิงมันรีทนต่อความกดดันของประชาชนไม่ไหวจึงยอมลาออกจากตำแหน่งหนีไปอยู่ที่ฮาวาย  และถึงแก่กรรมที่นั่นโดยไม่ได้กลับไปเกาหลีใต้อีกเลย
                ๒.  เกาหลีใต้ยุคประชาธิปไตยเฟื่องฟูสมัยจางเมียน  เกาหลีใต้ภายหลังซิงมันรีหมดอำนาจ  มีลักษณะเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น  มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใน  ค.ศ. ๑๙๖๐  ลดอำนาจประธานาธิบดีให้เป็นเพียงประมุขของรัฐที่เป็นสัญลักษณ์หรือประธานในงานรัฐพิธีเท่านั้น  โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาลที่มีอำนาจที่แท้จริงแทนผลการเลือกตั้งในปีเดียวกัน  ปรากฏว่าสมาชิกพรรคประชาธิปไตยได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร  มีเสียงข้างมากในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  จางเมียน  (Chang Myon)  หัวหน้าพรรคได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี  และยุนโปซุน  (Yun Po Sun)  เป็นประธานาธิบดี
                ผลจากการถูกปิดกั้นเสรีภาพทางการเมืองในสมัยรัฐบาลซิงมันรี  ทำให้ประชาชนนิสิตนักศึกษาและปัญญาชนโดยทั่วไป  ตื่นตัวต่อการใช้สิทธิใช้เสียงทางการเมืองเป็นอย่างมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  องค์การนักศึกษาได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทชี้นำทางการเมืองประดุจเป็นรัฐบาลเงา  ความเรียกร้องต้องการของกลุ่มพลังทางการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ  ในการใช้สิทธิทางาการเมืองด้วยการชุมนุมเดินขบวนเรียกร้องผลประโยชน์ที่ถูกรัฐบาลซิงมันรีลิดรอนและปิดกั้น  โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานต่างๆ  ตลอดรวมถึงสื่อมวลชน  โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ที่ใช้เสรีภาพกันอย่างเต็มที่  ทำให้เกิดสภาพไร้ระเบียบยุ่งเหยิงเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวายไร้เสถียรภาพทางการเมือง  โดยที่รัฐบาลก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานของประเทศในทุกๆ  ด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยที่รัฐบาลก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานของประเทศในทุกๆ  ด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งด้านเศรษฐกิจ  การฉ้อราษฎร์บังหลวงและอื่นๆ  และยังไม่ทันที่ระบอบประชาธิปไตยจะค่อยๆ  พัฒนาเข้ารูปเข้ารอยตามครรลอง  ซึ่งต้องการระยะเวลาปรับตัวพอสมควรเพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจวิถีทางของความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง  ทหารก็เข้าทำการแทรกแซง  การที่กลุ่มทหารและกลุ่มธุรกิจชั้นนำมองสภาพการณ์ดังกล่าวว่าเป็นความระส่ำระสายและไร้เสถียรภาพทางการเมือง  โดยเกรงจะเป็นภัยอันตรายต่อการแทรกแซงทางการเมืองจากเกาหลีเหนือเช่นในอดีต  ประกอบกับกำลังทัพของทหารเกาหลีใต้  ที่สหรัฐอเมริกาให้ความสนับสนุนมีความเข้มแข็งมากขึ้น  ฝ่ายทหารภายใต้การนำของพลตรีปักจุงฮี  (Pak Jung Hi)  จึงสามารถทำรัฐประหารได้เป็นผลสำเร็จใน  ค.ศ. ๑๙๖๑  โดยอ้างความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลพลเรือน  อย่างไรก็ดี  รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีจางเมียนก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นรัฐบาลเดียวของเกาหลีใต้ที่พยายามสร้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและเคารพสิทธิมนุษยชน
                ๓.  เกาหลีใต้ยุคเผด็จการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสมัยปักจุงฮี  หลังจากทำรัฐประหารขับนายกรัฐมนตรีจางเมียนออกจากตำแหน่ง  พลตรีปักจุงฮีได้เข้ารับตำแหน่งเป็นประธานสูงสุดเพื่อการสร้างชาติ  และเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใน  ค.ศ. ๑๙๖๒  ปักจุงฮีก็ได้ตั้งพรรคสาธารณรัฐประชาธิปไตย  (Democratic Republican Party)  และขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค  โดยยุบเลิกสภาสูงเพื่อสร้างชาติเสียตลอดระยะเวลาที่ประธานาธิบดีปักจุงฮีเป็นผู้นำของเกาหลีใต้  มิได้สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสให้กลุ่มผลประโยชน์แข่งขันกันโดยสันติวิธีอย่างแท้จริง  แต่จะอ้างเป้าหมายการพัฒนาปรับปรุงเศรษฐกิจของชาติ  และการปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวง  เพื่อใช้อำนาจสูงสุดเด็ดขาดปราบปรามฝ่ายค้านที่ต่อต้านอำนาจของเขาในทุกรูปแบบตลอดมา  ไม่ว่าจะเป็นการจับกุมคุมขับ  ลักพาตัวตลอดจนการข่มขู่ทรมานต่างๆ  ทั้งนี้โดยใช้การประกาศกฎอัยการศึกและภาวะฉุกเฉินเป็นเครื่องมือ
                ภายใต้รัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้ใน  ค.ศ. ๑๙๖๒  ปักจุงฮีได้จัดตั้งพรรคสาธารณรัฐประชาธิปไตย  เปลี่ยนฐานะตนเองจากตำแหน่งประธานสภาปฏิวัติสูงสุดมาเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง  และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี  ตั้งแต่  ค.ศ. ๑๙๖๒  เป็นต้นมาติดต่อกันถึง    ปี  ทำให้ปักจุงฮีมีอำนาจมากขึ้น  มีฐานะทางการเมืองที่มั่นคงมาตลอด  และยิ่งเพิ่มขึ้นอีกเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งสำคัญใน  ค.ศ. ๑๙๗๒  ที่เรียกกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับยูซิน  (Gushin Constitution)  รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีหลักการสำคัญๆ  ที่ล้วนแต่เป็นเงื่อนไขสนับสนุนปักจุงฮีและพรรคพวกให้มีโอกาสคุมอำนาจทางการเมือง  โดยเฉพาะกำหนดให้ตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นตำแหน่งที่คนคนเดียวสามารถครองอำนาจได้ตลอดกาล  โดยจะสมัครรับเลือกตั้งหรือเคยเป็นประธานาธิบดีมากี่ครั้งก็ได้  ปักจุงฮีจึงอยู่ในตำแหน่งได้ไม่จำกัดสมัย
                นอกจากนั้น  อำนาจประธานาธิบดีตามรัฐธรรมนูญฉบับยูซินยังนับว่ามีกว้างขวางเด็ดขาดมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรา  ๕๓  และ  ๕๔  ให้อำนาจประธานาธิบดีในภาวะคับขันที่จะใช้มาตรการฉุกเฉินเพื่อกิจการด้านการป้องกันประเทศ  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ความมั่นคงภายใน  เศรษฐกิจการคลังของประเทศตลอดจนการแทรกแซงอำนาจของศาล  รัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจที่จะหน่วงเหนี่ยวสิทธิเสรีภาพขั้นมูลฐานของประชาชนได้เพื่อการแก้ไขวิกฤตการณ์ของประเทศ  กับให้อำนาจออกคำสั่งระดมกำลังตำรวจทหารทุกเหล่าทัพ  เพื่อรักษาระเบียบของสังคมและความมั่นคงปลอดภัยของประเทศได้ทุกเวลา  ตามดุลพินิจของประธานาธิบดี  โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแต่อย่างใด  และยังสามารถประกาศกฎอัยการศึกได้ตามที่เห็นว่าเหมาะสมอีกด้วย
                สำหรับตำแหน่งประธานาธิบดี  มาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกสภาแห่งชาติเพื่อเอกภาพ  (National Conference for Unification)  ซึ่งประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งมาจากบุคคลสาขาอาชีพต่างๆ  แต่ในทางปฏิบัติปรากฏว่าปักจุงฮีได้แต่งตั้งบรรดานายทหารระดับคุมกำลังและนักธุรกิจชั้นนำ  ที่มีผลประโยชน์ร่วมกับรัฐบาลเข้าเป็นฐานกำลังให้รัฐบาลและแม้จะมีชาวไร่ชาวนาและคนนอกราชการร่วมด้วยแต่ส่วนใหญ่ก็เป็นคนที่ปักจุงฮีให้ความเห็นชอบ
                ส่วนสภานิติบัญญัติไม่มีอำนาจควบคุมฝ่ายบริหารแต่อย่างใด  ประธานาธิบดีสามารถปราศใช้กฎหมายได้โดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติในภาวะประกาศกฎอัยการศึกและภาวะฉุกเฉินอีกด้วย  สมาชิกสภานิติบัญญัติของเกาหลีได้มี    ประเภท  คือ  ประเภทที่มาจากการแต่งตั้งจะมีจำนวน    ใน    ของทั้งหมด  อยู่ในวาระครั้งละ    ปี  ส่วนสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งจะมีจำนวน    ใน    ของทั้งหมด  แต่อยู่ในวาระได้เพียงครั้งละ    ปี
                อำนาจที่มีความสำคัญอีกอำนาจหนึ่ง  คือ  อำนาจตุลาการในเกาหลีใต้  อำนาจนี้ยังคงมีอิสระอยู่พอสมควร  แต่กระนั้น  ก็มักถูกแทรกแซงโดยคำสั่งพิเศษของประธานาธิบดีอยู่เสมอ  ซึ่งรัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้ลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐและความผิดทางการเมืองได้  นักโทษการเมืองในเกาหลีใต้ส่วนใหญ่ซึ่งมิได้รับการปฏิบัติตามครรลองของสิทธิมนุษยชน  จึงมิได้รับการพิจารณาคดีโดยกระบวนการยุติธรรมในศาลปกติ
                อย่างไรก็ตาม  แม้ว่าปักจุงฮีจะใช้อำนาจผูกขาดบทบาทการเป็นผู้นำไว้แต่เพียงผู้เดียวตลอดระยะเวลาเกือบ  ๒๐  ปี แต่ผลสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศก็เป็นผลงานชิ้นสำคัญที่ทำให้ปักจุงฮียังเป็นที่ยอมรับของประชาชนอยู่  แม้ว่ามีฝ่ายคัดค้านอยู่ไม่น้อยก็ตาม  ทำให้เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศที่มีอัตราความเติบโตทางเศรษฐกิจรวดเร็วที่สุดประเทศหนึ่งในบรรดาชาติกำลังพัฒนาทั่วโลก
                เมื่อปักจุงฮีขึ้นสู่อำนาจ  ได้ระดมนักวิชาการทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ  เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ  หลังจากนั้นจึงได้กำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจ    ปีฉบับแรก  (ค.ศ. ๑๙๖๒-๑๙๖๖)  เร่งแก้ปัญหาช่องว่างทางรายได้ของประชาชนให้น้อยลง  พยายามเร่งขยายเนื้อที่เพาะปลูกและขยายผลผลิตทางการเกษตรให้สูงขึ้น  พัฒนาแหล่งพลังงานถ่านหินและทรัพยากรธรรมชาติ  ขยายการลงทุนอุตสาหกรรมทุกประเภท  ปรับปรุงความชำนาญทางเทคโนโลยี  และปรับปรุงชำระหนี้ต่างประเทศให้ดีขึ้นโดยเร่งการขยายการส่งออก  นับว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจ    ปี  ฉบับแรกประสบความสำเร็จสูงพอสมควร  โดยการตั้งเป้าหมายยกระดับเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ให้อยู่ในระดับสูงกว่าครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว
                นอกจากที่กล่าวมา  ยังมีโครงการสำคัญ  คือ  โครงการซามาเอิล  อุนดง  (Saemaul Undong)  อันเป็นโครงการพัฒนาชนบท  ที่มุ่งปรับปรุงชนบทให้มีความเจริญเพื่อแก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบทให้มีน้อยที่สุด  เช่น  ความแตกต่างทางรายได้ซึ่งนับวันแต่จะมากขึ้น  จึงพยายามเร่งการผลิตในชนบทให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  ในปัจจุบันเกาหลีใต้กำลังอยู่ในระหว่างการใช้แผนพัฒนา    ปี       ฉบับที่    (ค.ศ. ๑๙๗๗ - ๑๙๘๑)  มุ่งพัฒนากิจการอื่นๆ  เช่น  การประมง  เข้ามาแทนที่ภาคเกษตรกรรม  เพราะเกาหลีมีปัญหาเรื่องการขยายแหล่งทำกินให้เกษตรกร  เนื่องจากที่ดินมีจำกัดจึงต้องปรับปรุงอาชีพอย่างอื่นขึ้นมาแทน  ในขณะเดียวกันก็เน้นการผลิตสินค้าประเภทอุตสาหกรรมที่เป็นสินค้าออกสำคัญทำรายได้ให้แก่ประเทศจำนวนมาก  เช่น  สิ่งทอ  เสื้อผ้าชนิดต่างๆ  รองเท้า  วิทยุ  และโทรทัศน์  เป็นต้น  ดังนั้น  จึงมีการเน้นส่งเสริมทางด้านอุตสาหกรรมมากกว่าด้านเกษตรกรรม
                เมื่อประเมินผลจากการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ฉบับที่    ถึงฉบับที่    ที่ผ่านมา  ปรากฏว่าเกาหลีใต้ประสบความสำเร็จมากทีเดียว  กล่าวคือ  นับตั้งแต่  ค.ศ. ๑๙๖๒  เป็นต้นมา  โดยเฉลี่ยสามารถเพิ่มรายได้ประชาชาติประมาณร้อยละ    ต่อปี  และกระทั่งสิ้นสุดแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่    ปรากฏว่าปริมาณสินค้าขาออกของเกาหลีใต้มีมูลค่าสูงขึ้นเกือบ  ๒๐๐  เท่า  รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเพิ่มขึ้นกว่า  ๑๐๐  เท่า  นอกจากนั้น  เกาหลีใต้ยังสามารถแก้ปัญหาดุลการค้าเสียเปรียบได้เป็นครั้งแรกใน  ค.ศ. ๑๙๗๗  อย่างไรก็ดี  ผลจากการพัฒนาดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาช่องว่างทางรายได้ระหว่างเมืองกับชนบทแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น  ซึ่งเป็นประเด็นที่ฝ่ายค้านโจมตีคัดค้านปักจุงฮีตลอดมา
                ปัจจัยสำคัญที่ช่วยเกื้อหนุนความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ได้อย่างน่าอัศจรรย์  มิใช่เกิดจากความเด็ดขาดเข้มแข็งและการปราบปรามทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงของปักจุงฮีเป็นปัจจัยหลักประการเดียว  แต่ยังประกอบด้วยปัจจัยพื้นฐานของเกาหลีใต้อีกหลายประการ  คือ
                (๑)  การที่ประชาชนเกือบทั้งประเทศรู้หนังสือ  จึงเป็นแรงงานที่มีคุณภาพสูงประกอบกับคนเกาหลีเป็นคนขยันหมั่นเพียรและมีความเป็นชาตินิยมสูง  ยิ่งช่วยให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศลุล่วงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                (๒)  การที่รัฐบาลปักจุงฮีใช้อำนาจเด็ดขาดควบคุมแรงงาน  ไม่ยอมให้เรียกร้องค่าแรงงานเพิ่มจึงทำให้ค่าแรงมีราคาถูก  ต้นทุนการผลิตสินค้าจึงถูกตามไปด้วย  สามารถส่งไปขายแข่งขันในต่างประเทศได้เป็นอย่างดี  และมีผลดึงนักลงทุนและแหล่งเงินทุนนอกประเทศให้เข้าไปประกอบกิจการอุตสาหกรรมในเกาหลีใต้มากขึ้น
                (๓)  การที่รัฐบาลเร่งขยายการสร้างปัจจัยพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการผลิต  ทั้งโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำและพลังน้ำมันขนาดใหญ่  โรงงานผลิตเหล็กกล้า  วัสดุเคมีและโรงงานผลิตปุ๋ย  เป็นต้น  ล้วนเป็นปัจจัยในการพัฒนาเกษตรกรรมแผนใหม่ทั้งสิ้น  โดยที่เกาหลีเน้นพัฒนาทั้งด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมควบคู่กันไป
                อย่างไรก็ดี  ผลเสียของการที่รัฐบาลปักจุงฮีลิดรอนสิทธิเสรีภาพทางการเมืองและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ  ทำให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยพากันประท้วงตลอดมาเป็นระยะๆ  ปักจุงฮีก็ได้ประกาศใช้มาตรการฉุกเฉินเพื่อปราบปรามตอบโต้เช่นกัน  รวมทั้งสิ้นถึง    ฉบับ  โดยเฉพาะคำสั่งฉบับที่    ระบุห้ามการเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญยูซิน  หรือการกระจายเสียงตีพิมพ์เผยแพร่ข้อความใดๆ  ที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญ  ผู้ฝ่าฝืนอาจได้รับโทษจำคุก  ๑๕  ปี
                ปักจุงฮีได้ใช้มาตรการทุกวิถีทางเพื่อรักษาอำนาจของตนไว้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ระบบตำรวจลับและข่ายงานของหน่วยสืบราชการลับเกาหลี  เช่น  ส่งหน่วย  เค.ซี.ไอ.เอ.  ไปลักพาตัว  คิมแดจุง  (Kim Dae Jung)  คู่แข่งทางการเมืองซึ่งถูกปักจุงฮีโกงการเลือกตั้งและได้ลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ในญี่ปุ่น  ตลอดเวลาดังกล่าว  คิมแดจุงได้ดำเนินการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อต่อต้านปักจุงฮีในญี่ปุ่น  ปักจุงฮีจึงส่งหน่วย  เค.ซี.ไอ.เอ.  ลักพาตัวและนำกลับมาจำคุกในกรุงโซลสำเร็จใน  ค.ศ. ๑๙๗๔  ต่อมาหลังจากถูกควบคุมตัวอยู่ถึง    ปี  คิมแดจุงได้ร่วมมือกับผู้นำฝ่ายค้านและผู้นำศาสนา  ปัญญาชน  รวมทั้งยุนโปซุนอดีตประธานาธิบดี  รวมทั้งหมด  ๑๒  คน  ลงนามใน  ปฏิญญาเพื่อการกู้ชาติประชาธิปไตย    วันที่    มีนาคม  ค.ศ. ๑๙๗๖  เรียกร้องให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของประชาธิปไตย  ตรวจสอบเค้าโครงและโครงร่างของพื้นฐานทางเศรษฐกิจเสียใหม่  และเรียกร้องให้มีการรวมชาติเกาหลีให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ในที่สุด  ผู้นำฝ่ายค้านถูกจับกุมข้อหาสมคบกันวางแผนโค่นล้มรัฐบาลตามคำสั่งมาตรการฉุกเฉิน      ฉบับที่ 
                การประท้วงครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม  ค.ศ. ๑๙๗๙  เมื่อคิมยังซัม  (Kim Yang Sum)  สมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดปูซานได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่  (New Democratic Party)  ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน  คิมยังซัมประกาศจะทำการรณรงค์ทั่วประเทศ  ปลุกระดมให้ประชาชนลุกฮือขึ้นโค่นล้มปักจุงฮี  เขาเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาใช้อิทธิพลบีบบังคับให้ปักจุงฮีคืนประชาธิปไตยให้ชาวเกาหลีใต้  คณะรัฐบาลปักจุงฮีไม่พอใจมากถือว่าคิมยังซัมกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล  เรียกร้องให้ต่างชาติเข้าแทรกแซงกิจการภายในอันเป็นการเสียหายต่อเกียรติภูมิของชาติ  สมาชิกสภาผู้แทนฝ่ายรัฐบาลได้ประชุมขับคิมยังซัมออกจากสมาชิกภาพ  โดยไม่ยอมให้สมาชิกสภาผู้แทนฝ่ายค้านเข้าร่วมด้วย  ฝ่ายค้านจึงลาออกทั้งหมด  ต่อมานักศึกษาประชาชนเกาหลีจึงพากันเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลจนเกิดการปะทะกันถึงขั้นจลาจล  ในที่สุดปักจุงฮีประกาศกฎอัยการศึกปราบปรามจลาจลสำเร็จในช่วงกลางเดือนตุลาคมปีเดียวกัน  โดยอ้างว่าเป็นแผนก่อความวุ่นวายของเกาหลีเหนือ
                ทางด้านสหรัฐอเมริกาซึ่งให้การสนับสนุนค้ำจุนอำนาจของปักจุงฮีตลอดมา  แต่ในสมัยประธานาธิบดีจิมมี  คาร์เตอร์  มีนโยบายเน้นทางด้นสิทธิมนุษยชน  ทำให้สหรัฐอเมริกาไม่เห็นด้วยกับการปกครองแบบเผด็จการของปักจุงฮี  จึงเริ่มมีท่าทีบาดหมางต่อกัน  เพราะรัฐบาลปักจุงฮีมีลักษณะเผด็จการและคงใช้มาตรการปราบปรามประชาชนอย่างรุนแรงเป็นการคุกคามต่อสิทธิมนุษยชน
                ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้จึงไม่ค่อยราบรื่นนัก  ดังนั้น  เมื่อปักจุงฮีถูกคิมแจคิว  (Kim Jae Kue)  ผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองเกาหลีใต้  ลอบสังหารเมื่อวันที่  ๒๖  ตุลาคม  ค.ศ. ๑๙๗๙  จึงมีผู้เชื่อกันว่าองค์การสืบราชการลับอเมริกัน  (ซี.ไอ.เอ.)  น่าจะมีส่วนรู้เห็นในการกำจัดปักจุงฮี  ในฐานะที่ไม่สามารถปกครองเกาหลีใต้ได้ตามความปรารถนาของสหรัฐอเมริกา
                ๔.  เกาหลีใต้ยุคหลังสมัยปักจุงฮี  หลังอสัญกรรมของปักจุงฮี  สมาชิกสภาแห่งชาติเพื่อเอกภาพ  ได้จัดประชุมขึ้นในเดือนธันวาคม  ค.ศ. ๑๙๗๙  เลือกชอยคิวฮา  (Choi Kyu Hah)  รักษาในตำแหน่งประธานาธิบดี  ต่อมาพลตรีชุนดูฮวาน  (Chun Doo Hwan)  ผู้บัญชาการกองพลรักษาความปลอดภัยทัพบกได้เข้ายึดอำนาจเป็นผลสำเร็จ
                เมื่อเดือนธันวาคม  ค.ศ. ๑๙๗๙  นักการเมืองฝ่ายค้านและนักศึกษาได้เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับยูซินของปักจุงฮี  แต่รัฐบาลทหารกลับแก้ไขปรับปรุงเพียงเล็กน้อยพอเป็นพิธีเท่านั้น  ไม่ยอมแก้ไขปรับปรุงสาระสำคัญของกฎหมายที่ลิดรอนเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน  นักศึกษาประชาชนจึงเดินขบวนต่อต้านรัฐบาล  รัฐบาลเข้าปราบปรามฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่เมืองกวางจูอย่างโหดร้าย  และประกาศใช้กฎอัยการศึก  การก่อจลาจลแผ่ขยายไปยังเมืองอื่นๆ  รวม  ๑๖  แห่ง  มีผู้เสียชีวิตกว่า  ๑๐๐  คน  และบาดเจ็บหลายร้อยคน  รัฐบาลสั่งปิดมหาวิทยาลัยทุกแห่ง  จับกุมนักการเมืองสำคัญนับร้อย  รวมทั้งหัวหน้าพรรคสาธารณรัฐประชาธิปไตยซึ่งเป็นพรรครัฐบาล  ส่วนคิมแดจุงผู้นำฝ่ายค้าน  และนักการเมืองคนสำคัญซึ่งถูกจับกุมคุมขังอยู่แล้วในเวลานั้นก็ถูกกล่าวหาซ้ำเติมว่ามีส่วนยุยงปลุกปั่นให้มีการต่อต้านรัฐบาลโดยการสนับสนุนจากฝ่ายเกาหลีเหนือ  ต่อมารัฐบาลได้ส่งกำลังทหารบุกเข้ายึดเมืองกวางจูได้เป็นผลสำเร็จ
                ผลจากการปราบปรามนักศึกษาดังกล่าว  ในที่สุดคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลเกาหลีใต้ชุดใหม่ภายใต้การนำของปักจุงฮูน  (Pak Chung Hoon)  นายกรัฐมนตรีได้เข้าบริหารประเทศแทน  และผู้บัญชาการกฎอัยการศึกได้ประกาศยุบสภาโดยไม่มีกำหนด  เป็นผลให้พลเอกชุนดูฮวานได้กุมอำนาจการปกครองอย่างเด็ดขาดระหว่างการจลาจลที่เมืองกวางจู  ต่อมาเขาพยายามสร้างคะแนนนิยมด้วยการกวาดล้างทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ  ในเดือนมิถุนายน  ค.ศ. ๑๙๘๐  มีการรณรงค์ปลดข้าราชการ  พนักงานรัฐวิสาหกิจ  และครูทั่วประเทศกว่า  ๘,๖๐๐  คน  รวมทั้งอดีตรัฐมนตรีและนักการเมืองที่ร่ำรวย  ประธานาธิบดีซอยคิวฮา  ซึ่งไม่มีอำนาจ  จึงลาออกเมื่อเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน  พลเอกชุนดูฮวานได้ลาออกจากตำแหน่งทางทหารตามรัฐธรรมนูญและเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือนเดียวกันแต่งตั้งตักจูเป็นนายกรัฐมนตรีแทนปักจุงฮูนซึ่งลาออก  ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของเกาหลีใต้ที่ชุนดูฮวานสั่งการให้ร่างขึ้นใหม่ใน  ค.ศ. ๑๙๘๐  อันจะทำให้ชุนดูฮวานสามารถเป็นประธานาธิบดีต่อไปได้อีกอย่างน้อย    ปี
                สำหรับโทษประหารชีวิตของคิมแดจุงผู้นำพรรคฝ่ายค้าน  ศาลสูงของเกาหลีใต้ยอดลดโทษให้เหลือแค่จำคุกตลอดชีวิต  โดยแถลงว่าเป็นการตัดสินใจของประธานาธิบดีชุนดูฮวาน  โดยอาศัยอำนาจของสภาที่ปรึกษาแห่งชาติเกาหลีใต้  แต่เหตุผลสำคัญแล้วเนื่องมาจากการคัดค้านของประเทศต่างๆ  ทั่วโลกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา  ซึ่งมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการเมืองของเกาหลีใต้  ต่อมาหลังจากที่ประธานาธิบดีโรแนล  เรแกนเข้ารับตำแหน่ง  ชุนดูฮวานได้เดินทางไปเยี่ยมคำนับปรึกษาหารือประธานาธิบดี  ซึ่งมาจากพรรครีพับลิกันที่มีนโยบายอนุรักษ์นิยม  จึงมิได้ก่อพลังกดดันในประเด็นสิทธิมนุษยชนเท่าใดนัก  เพราะต้องการให้เน้นเรื่องความมั่นคงและต่อต้านอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์มากกว่า  นับว่าสหรัฐอเมริกายังคงมีอิทธิพลอย่างสำคัญในการสนับสนุนรัฐบาลของเกาหลีใต้ที่มีผู้นำมาจากทหารและไม่สนใจต่อประเด็นประชาธิปไตยของประชาชน
ข.  ปัญหาและอนาคตด้านการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคมของเกาหลีใต้
                ๑.  ปัญหาและอนาคตด้านการเมืองของเกาหลีใต้

3 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ญี่ปุ่นพยายามมองเกาหลีเหนือว่าเป็นภัยคุกคามอย่างรุนแรง
    http://www.chanchaivision.com/2013/07/Japan-Security-Realism-130714.html

    ตอบลบ